วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554

คำถามประจำวันที่ 11-12-54

1. การเร่งงาน มีประโยชน์หรือไม่อย่างไร ให้ยกตัวอย่างประกอบ
     
การกำหนดเวลางานโครงการให้สอดคล้องกับข้อจำกัดทางด้านทรัพยากรในขั้นให้สามารถกำหนดเวลาแล้วเสร็จของโครงการที่เป็นไปได้  แต่โครงการอาจใช้เวลามากกว่ากำหนดเวลาส่งงานที่ได้ทำสัญญาไว้  ทำให้ต้องมีการเร่งงานโครงการให้แล้วเสร็จเร็วขึ้นตามกำหนดเวลาในโครงการ  ซึ่งการเร่งโครงการนี้จำเป็นต้องพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายที่สัมพันธ์กับเวลาของงานแต่ละงานในโครงการด้วย  เพื่อพิจารณาเลือกงานที่จะทำให้เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดในการเร่งโครงการ

สรุปประโยชน์จากการจัดลำดับความสำคัญ
1. งานสำคัญ งานเร่งด่วน เสร็จทันเวลา
2. ทำงานได้ครบตามลำดับความสำคัญได้มากที่สุด
3. มีสมาธิในการทำงาน ไม่ต้องพะวงในหลายเรื่อง การทำงานไม่ซ้ซ้อน

ตัวอย่างเช่น
                ในบางกรณีผู้บริหารต้องการให้โครงการเสร็จเร็วกว่ากำหนด สามารถทำได้โดยการระดมทรัพยากรต่างๆ เช่น แรงงาน เครื่องจักรมาใช้ในกิจกรรมวิกฤตมากขึ้น เราเรียกการลดเวลาของโครงการโดยการระดมทรัพยากรว่า การเร่งรัดโครงการ (crashing project)
ขั้นตอนการเร่งรัดโครงการ
                1. หาความสัมพันธ์ระหว่างเวลาแล้วเสร็จและค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมปกติของทุกกิจกรรมในโครงการ
                2. วิเคราะห์หาเส้นทางวิกฤตเพื่อทราบถึงกิจกรรมวิกฤต
                3. รวบรวมค่าใช้จ่ายในการเร่งรัดกิจกรรมวิกฤต
                4. เลือกเร่งกิจกรรมวิกฤตที่มีค่าใช้จ่ายในการเร่งงานต่ำสุดก่อนโดยการเร่งรัดทีละหน่วยเวลาจนกว่าจะได้เวลาแล้วเสร็จตามที่ต้องการ


2. การเร่งงาน ท่านคิดว่าปัจจัยอะไรที่จะต้องพิจารณาเป็นพิเศษ อธิบายประกอบเพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
การเร่งโครงการด้วยสายงานวิกฤต คือสายงานที่มีระยะยาวนานที่สุดซึ่งถือเป็นสายงานที่มีความสาคัญหากงานหรือกิจกรรมภายในสายงานวิกฤตช้ากว่าที่กาหนดไว้ในโครงการ นั่นหมายถึงว่าโครงการก็จะเสร็จช้าไปด้วย ดังนั้นการควบคุมโครงการให้สาเร็จตามเวลาที่ได้กาหนดไว้ จาเป็นต้องมีการควบคุมกิจกรรมในสายงานวิกฤตให้เป็นไปตามที่ได้วางแผนไว้ ดังนั้นหากต้องการเร่งโครงการให้เสร็จเร็วขึ้น ก็สามารถทาได้ด้วยการเร่งกิจกรรมภายในสายงานวิกฤตนั่นเอง
อีกปัจจัยหนึ่ง คือ ปัจจันด้านทรัพยากรณ์ต่างๆ

3. การเร่งงาน ที่ดี ท่านคิดว่าจะต้องเรียงลำดับความสำคัญจากอะไรก่อนหลัง เพราะอะไร
***ความสำเร็จในการทำงานจะเริ่มต้นจากการจัดสิ่งต่างๆ ให้เป็นระบบระเบียบ ***
การจัดลำดับความสำคัญของงาน : ความสามารถในการจัดลำดับงานที่หลากหลายทั้งที่
เป็นงานประจำ และงานโครงการให้สำเร็จ ตรงตามเวลาที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปัญหาที่เกิดจากการทำงานไม่เป็นระบบ
- เวลาส่วนใหญ่ในแต่ละวันหมดไปกับการทำสิ่งที่ไม่มีความสำคัญใดๆเลย
- ทำงานอย่างเสร็จอย่างลวกๆ ไม่เรียบร้อย
- มีปัญหาในการแยกเยอะงานที่สำคัญออกจากงานอื่นๆ
- รอให้ถึงเวลาจวนตัวจึงจะเริ่มลงมือทำงานชิ้นสำคัญ
- เริ่มงานพร้อมๆกันหลายงาน แต่ไม่เคยทำได้สำเร็จเลยสักอย่าง
- ตัดสินใจไม่ถูกว่าควรจะทำงานอะไรเป็นลำดับต่อไป
- ทำงานชิ้นเดิมซ้ำอีกครั้ง เพราะจัดระบบงานของตัวเองไม่ดีพอ
- ไม่สามารถรับมอบหมายงานที่ต้องใช้ความรับผิดชอบสูงได้


4. การพัฒนาโปรแกรมหรือระบบสารสนเทศใดๆ นั้น การเร่งงานมีส่วนมาเกี่ยวข้องหรือไม่อย่างไร

            ความพยายามที่จะคาดคะเนเวลาและค่าใช้จ่าย ที่จะใช้ในการดาเนินงานโครงการใดโครงการหนึ่ง รวมทั้งผลประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการ จะรวมถึงขั้นตอนการทางาน กิจกรรมที่จะต้องทำ เวลาที่ใช้ในแต่ละกิจกรรม รวมทั้งบุคคลากรที่เหมาะสมในแต่ละกิจกรรมด้วย แต่ละโครงการควรจะวางแผนในรายละเอียดให้มาก ก่อนที่จะเริ่มทางานจริง และเมื่อดาเนินงานจริงๆแล้ว ควรจะติดตามและควบคุม ให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ด้วย แผนงานของโครงการวิเคราะห์และออกแบบ จะประกอบแผนงานต่อไปนี้คือ การวิเคราะห์ การออกแบบการพัฒนาโปรแกรม การนำระบบมาใช้งานจริงแต่ละกิจกรรมก็จะประกอบด้วย งานย่อยแยกไปอีก ได้แก่ การคาดคะเนเวลา และการเตรียมตารางการทางาน คาดคะเนค่าใช้จ่าย ผลประโยชน์ที่จะได้รับ
          ในการพัฒนาโปรแกรมหรือระบบสารสนเทศอาจมีการเร่งโครงการบ้าง เพื่อให้สามารถลดปริมาณการค่าต่างๆ ที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการโครงการ โดยจะสามารถคำนวณค่าใช้จ่ายต่างๆ อีกทั้งยังสามารถนำเสนอต่อผู้บริหารให้ทราบถึงสถานะของโครงการได้ในทันที

คำนวณ

ทำการ Copy ข้อมูลดังกล่าว (หน้า 1) และลงมือคำนวณโดยใช้โปรแกรม Excel 

คำนวณ ขั้นที่ 1

 คำนวณหาค่า b


คำนวณหาค่า a

 คำนวณหาค่า ใช้จ่ายทั้งหมด ในแต่ละงาน


คำนวณหาค่า TC


คำนวณ ขั้นที่ 2





วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สอบกลางภาควิชาบริหารโครงการ

คำถาม คือ
โครงการ (Project) ของท่านจะแล้วเสร็จกี่วันหากมีความน่าจะเป็นเท่ากับร้อยละ 83”

ทั้งนี้ ให้ท่านสมมติงานย่อยในแต่โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศใดระบบหนึ่งที่ท่านสนใจ (โดยจะต้องระบุชื่อโครงการ) โดยให้มีงานย่อยอย่างน้อย 15 งาน (ซึ่งจะต้องมีงานทำก่อนและหลัง) โดยแต่ละงานย่อยให้ท่านสมมติ เวลา a (ให้ท่านหาความหมายของ a ว่าคืออะไร) เวลา m (ให้ท่านหาความหมายของ m ว่าคืออะไร) และเวลา b (ให้ท่านหาความหมายของ b ว่าคืออะไร) ทั้งนี้ ท่านจะต้องเขียน AOA และ AON พร้อมให้บอกเส้นทางวิกฤตที่เกิดขึ้น ให้เวลาไม่เกิน 13.30 น. ครับ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

โครงการวางแผนฝึกอบรมประจำปีให้กับพนักงาน เพื่อพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการทำงาน


a =เวลาที่ใช้น้อยที่สุดในการดำเนินโครงการ
m =เวลาเฉลี่ยในการดำเนินโครงการ
b =เวลาที่มากที่สุดในการดำเนินโครงการ



เส้นทางที่เป็นไปได้
เส้นทางที่  1  : 1-2-3-4-5-7-8-9-10-14-16
เส้นทางที่  2  : 1-2-3-4-5-7-8-9-11-14-16
เส้นทางที่  3  : 1-2-3-4-5-7-8-9-12-14-16
เส้นทางที่  4  : 1-2-3-4-5-7-8-9-13-14-16

เส้นทางที่  5  : 1-2-3-4-6-7-8-9-10-14-16
เส้นทางที่  6  : 1-2-3-4-6-7-8-9-11-14-16
เส้นทางที่  7  : 1-2-3-4-6-7-8-9-12-14-16
เส้นทางที่  8  : 1-2-3-4-6-7-8-9-13-14-16
เส้นทางที่  9  : 1-2-3-4-6-7-8-15-16

*สีแดงคือเส้นทางวิกฤต


เส้นทางวิกฤตคือ เส้นที่  9  = 7.67 วัน

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การบ้าน 27-11-2554

ข้อ 1งานข้อ 9 ใน sheet Problem 


ข้อ2.ใช้ข้อมูลจากคำถามข้อ 12 จงหาว่า โครงการจะแล้วเสร็จภายใน 48 วันมีค่าความน่าจะเป็นเท่ากับเท่าไร และถ้าหากมีความน่าจะเป็นให้โครงการแล้วเสร็จเท่ากับ 0.86 แล้ว จำนวนวันที่จะเป็นไปได้มีค่าเท่ากับเท่าไร


วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Project Management 20/11/2011

คำถามที่ 1 เอกสาร power point หน้า 13 มีกี่เส้นทาง ที่เป็นไปได้ และเส้นทางใดเป็น critical path พร้อมบอกระยะเวลาที่วิกฤติ

             จากภาพ มีทั้งหมด 3 เส้นทางที่เป็นไปได้คือ
              A - D - I =ใช้ระยะเวลา 0+3+8+6 = 17
             B - E - G - J =ใช้ระยะเวลา 0+5+5+4+4 = 18
              C - F - H - J  = ใช้ระยะเวลา 0+7+5+5+4= 21
             ดังนั้น เส้นทางที่เป็น critical path คือ  C - F - H - J ระยะเวลาที่วิกฤติคือ 21

 คำถามที่ 2 ท่านคิดว่า CPM กับ PERT ต่างกันอย่างไร หน้า 19 กับ 26

การบริหารงานโครงการด้วยการ วางแผนควบคุม โดยใช้เทคนิค PERT : Program Evaluation and Review Technique และ CPM : Critical Path Method เป็นการวิเคราะห์ข่ายงานที่มักนำมาใช้ในการบริหารงานโครงการ มีจุดเริ่มต้นของโครงการจนถึงปิดโครงการที่แน่นอน มีส่วนงานย่อยต่าง ๆ ที่มีการกระจายโดยมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

ข้อแตกต่างชัดเจนระหว่าง PERT และ CPM คือ เวลาในการทำกิจกรรม โดยที่เวลาในการทำกิจกรรมของ PERT จะเป็นเวลาโดยประมาณซึ่งคำนวณได้ด้วยการใช้ความน่าจะเป็น PERT จึงใช้กับโครงการที่ไม่เคยทำมาก่อน หรือโครงการซึ่งไม่สามารถเก็บรวบรวมเวลาของการทำกิจกรรมได้ เช่น โครงการพัฒนาวิจัย ส่วน CPM นั้น เวลาที่ใช้ในกิจกรรมจะเป็นเวลาที่แน่นอน ซึ่งคำนวณได้จากข้อมูลที่เคยทำมาก่อน เช่น อัตราการทำงานของงานแต่ละประเภท อัตราการทำงานของเครื่องจักร เป็นต้น CPM จึงใช้กับโครงการที่เคยทำมาก่อน ซึ่งมีความชำนาญแล้ว เช่น งานก่อสร้าง

PERT จึงดีกว่าวิธี CPM ดังนี้
1. PERT การสามารถนำไปใช้กับโครงการที่มีเวลาดำเนินงานไม่แน่นอน เช่น โครงการใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยทำมาก่อน ซึ่งมีความยืดหยุ่นกว่า CPM
2. PERT ใช้กับโครงการวิจัยและพัฒนา
3. PERT จะคำนึงถึงเวลาเป็นสำคัญพยายามหาวิธีการที่ใช้เวลาน้อยที่สุดในการดำเนินโครงการ

ปัจจุบันได้นำมาใช้งานร่วมกัน โดย PERT เพียงคำเดียวอาจหมายถึงเทคนิค CPM มาใช้ร่วมด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การเขียนโครงการ การตรวจนับจำนวนรถที่วิ่งบนถนนและตรวจจับความเร็วของรถด้วยกล้องวงจรปิด

1.1 ความสำคัญและที่มาของโครงงาน
                เนื่องจากปัจจุบัน นั้นรถยนต์ได้มีความจำเป็นกับทุกคนที่ใช้ชีวิตในการเดินทาง การใช้รถใช้ถนนไปในที่ต่างๆ ก็มีมากมาย  จึงนำความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์มาช่วยในการจดจำลักษณะของรถยนต์ เพื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานต่างๆ และเป็นพื้นฐานในการพัฒนาต่อได้  โดยนำรูปของรถยนต์ที่ถ่ายมาด้วยกล้องดิจิตอลหรือกล้องวีดีโอ  แล้วนำไฟล์วีดีโอมาทำการเก็บข้อมูลไว้แล้ว  โดยการนำหลักการการประมวลผลภาพวีดีโอ  (Vedio Processing) มาเก็บข้อมูล
จึงเกิดแนวคิดที่จะสร้างโปรแกรมนับจำนวนรถที่วิ่งบนถนนและตรวจจับความเร็วของรถที่ปรากฏบนวีดีโอ  เพื่อประยุกใช้การนับจำนวนรถที่วิ่งบนถนนและตรวจจับความเร็วของรถที่ปรากฏบนวีดีโอในในการวิเคราะห์การจัดการจราจรที่เหมาะสม โดยการนำหลักการประมวลภาพวีดีโอ(Vedio Processing)
1.2 วัตถุประสงค์ของโครงงาน
เพื่อมุ่งหวังและต้องการให้สามารถตรวจนับจำนวนรถที่วิ่งบนถนนและตรวจจับความเร็วของรถที่ปรากฏบนวีดีโอให้มีความถูกต้องแม่นยำมากที่สุด ด้วยการประมวลผลภาพวีดีโอ ซึ่งจะทำให้สามารถตรวจนับจำนวนรถที่วิ่งบนถนนและตรวจจับความเร็วของรถด้วยกล้องวงจรปิด  ต่าง ๆได้ แล้วแสดงผลเป็นข้อมูล เพื่อจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในกิจการต่างๆ ได้
1.3  ระยะเวลาดำเนินงาน
              10  เดือน  ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือนมีนาคม (ระยะเวลาที่เปิดภาคเรียน)
1.4 ขอบเขตของโครงงาน               
1.4.1 การนับจำนวนรถจะนับเฉพาะรถที่ผ่านกล้องที่มีตำแหน่งคงที่และไม่มีการหมุนกล้องเท่านั้น
1.4.2 เนื่องจากไม่สามารถติดตั้งกล้องบนท้องถนนได้จริงจึงต้องใช้สถานที่ทดลองขึ้นในสถานที่ๆสะดวก
1.4.3 กล้องที่ใช้เป็นแบบ network camara
1.4.4 โปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนา  Microsoft Visual Studio 6 หรือ เวอร์ชันสูงกว่า
1.5 วิธีการดำเนินการ
1.5.1 ศึกษาเกี่ยวกับการประมวลผลในรูปแบบต่างๆ เพื่อที่จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์หาตำแหน่งของรถยนต์ พร้อมทั้งตรวจนับจำนวนรถที่วิ่งบนถนนและตรวจจับความเร็วของรถด้วยกล้องวงจรปิด
1.5.2 ศึกษากระบวนการการทำงานของ vedio Processing ที่ใช้สำหรับการหาตำแหน่งของภาพ
1.5.3 วิเคราะห์และออกแบบขั้นตอนการทำงานของระบบ
1.5.4 เขียนและพัฒนาโปรแกรมที่ใช้ในการแปลงภาพ หาตำแหน่งของภาพ รวมไปถึงการเขียนโปรแกรมเพื่อวิเคราะห์ความถูกต้อง
1.5.5 วิเคราะห์ผลการทดลองและทำการแก้ไขในส่วนที่ผิดพลาดจากนั้นสรุปผลการทดลอง
 1.6 งบประมาณ
                25,000  บาท                
แหล่งเงินทุน
-เงินสนุบสนุนการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา ป.โท คณะวิทยาศาสตร์ 10,000 บาท
-งบประมาณส่วนตัว 15,000 บาท
1.7  สถานที่ดำเนินงาน
                มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
1.8  หน่วยงานที่รับผิดชอบ
                นายพชรศักดิ์  ปราบเสียง  นักศึกษาปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีสาระสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
1.9 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.9.1 ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีทาง Vedio Processing ที่ใช้ศึกษาในการทำโครงงาน
1.9.2 ได้รับความรู้ความเข้าใจถึงเทคนิคต่างๆทาง Vedio Processing ที่ใช้ในการนำภาพที่ถ่ายจากกล้องวีดีโอได้มาใช้ในการทำงาน ได้รับความรู้ความเข้าใจในกระบวนการ ขั้นตอนการหาตำแหน่งของรถยนต์ การตรวจนับจำนวนรถที่วิ่งบนถนนและตรวจจับความเร็วของรถด้วยกล้องวงจรปิด
1.10 แผนผังการทำงาน
1.11 ผู้เสนอโครงการ
                นายพชรศักดิ์  ปราบเสียง  นักศึกษาปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีสาระสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
 1.12 ผู้อนุมัติโครงการ
                ประธานหลักสูตร อาจารย์ที่ปรึกษา และกรรมการ

วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การเขียนโครงการ การตรวจนับจำนวนรถที่วิ่งบนถนนและตรวจจับความเร็วของรถด้วยกล้องวงจรปิด


1.1 ความสำคัญและที่มาของโครงงาน
                เนื่องจากปัจจุบัน นั้นรถยนต์ได้มีความจำเป็นกับทุกคนที่ใช้ชีวิตในการเดินทาง การใช้รถใช้ถนนไปในที่ต่างๆ ก็มีมากมาย  จึงนำความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์มาช่วยในการจดจำลักษณะของรถยนต์ เพื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานต่างๆ และเป็นพื้นฐานในการพัฒนาต่อได้  โดยนำรูปของรถยนต์ที่ถ่ายมาด้วยกล้องดิจิตอลหรือกล้องวีดีโอ  แล้วนำไฟล์วีดีโอมาทำการเก็บข้อมูลไว้แล้ว  โดยการนำหลักการการประมวลผลภาพวีดีโอ  (Vedio Processing) มาเก็บข้อมูล
จึงเกิดแนวคิดที่จะสร้างโปรแกรมนับจำนวนรถที่วิ่งบนถนนและตรวจจับความเร็วของรถที่ปรากฏบนวีดีโอ  เพื่อประยุกใช้การนับจำนวนรถที่วิ่งบนถนนและตรวจจับความเร็วของรถที่ปรากฏบนวีดีโอในในการวิเคราะห์การจัดการจราจรที่เหมาะสม โดยการนำหลักการประมวลภาพวีดีโอ(Vedio Processing)
1.2 วัตถุประสงค์ของโครงงาน
เพื่อมุ่งหวังและต้องการให้สามารถตรวจนับจำนวนรถที่วิ่งบนถนนและตรวจจับความเร็วของรถที่ปรากฏบนวีดีโอให้มีความถูกต้องแม่นยำมากที่สุด ด้วยการประมวลผลภาพวีดีโอ ซึ่งจะทำให้สามารถตรวจนับจำนวนรถที่วิ่งบนถนนและตรวจจับความเร็วของรถด้วยกล้องวงจรปิด  ต่าง ๆได้ แล้วแสดงผลเป็นข้อมูล เพื่อจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในกิจการต่างๆ ได้
1.3  ระยะเวลาดำเนินงาน
              10  เดือน  ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือนมีนาคม (ระยะเวลาที่เปิดภาคเรียน)
1.4 ขอบเขตของโครงงาน               
1.4.1 การนับจำนวนรถจะนับเฉพาะรถที่ผ่านกล้องที่มีตำแหน่งคงที่และไม่มีการหมุนกล้องเท่านั้น
1.4.2 เนื่องจากไม่สามารถติดตั้งกล้องบนท้องถนนได้จริงจึงต้องใช้สถานที่ทดลองขึ้นในสถานที่ๆสะดวก
1.4.3 กล้องที่ใช้เป็นแบบ network camara
1.4.4 โปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนา  Microsoft Visual Studio 6 หรือ เวอร์ชันสูงกว่า
1.5 วิธีการดำเนินการ
1.5.1 ศึกษาเกี่ยวกับการประมวลผลในรูปแบบต่างๆ เพื่อที่จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์หาตำแหน่งของรถยนต์ พร้อมทั้งตรวจนับจำนวนรถที่วิ่งบนถนนและตรวจจับความเร็วของรถด้วยกล้องวงจรปิด
1.5.2 ศึกษากระบวนการการทำงานของ vedio Processing ที่ใช้สำหรับการหาตำแหน่งของภาพ
1.5.3 วิเคราะห์และออกแบบขั้นตอนการทำงานของระบบ
1.5.4 เขียนและพัฒนาโปรแกรมที่ใช้ในการแปลงภาพ หาตำแหน่งของภาพ รวมไปถึงการเขียนโปรแกรมเพื่อวิเคราะห์ความถูกต้อง
1.5.5 วิเคราะห์ผลการทดลองและทำการแก้ไขในส่วนที่ผิดพลาดจากนั้นสรุปผลการทดลอง
 1.6 งบประมาณ
                25,000  บาท                
แหล่งเงินทุน
-เงินสนุบสนุนการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา ป.โท คณะวิทยาศาสตร์ 10,000 บาท
-งบประมาณส่วนตัว 15,000 บาท
1.7  สถานที่ดำเนินงาน
                มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
1.8  หน่วยงานที่รับผิดชอบ
                นายพชรศักดิ์  ปราบเสียง  นักศึกษาปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีสาระสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
1.9 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.9.1 ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีทาง Vedio Processing ที่ใช้ศึกษาในการทำโครงงาน
1.9.2 ได้รับความรู้ความเข้าใจถึงเทคนิคต่างๆทาง Vedio Processing ที่ใช้ในการนำภาพที่ถ่ายจากกล้องวีดีโอได้มาใช้ในการทำงาน ได้รับความรู้ความเข้าใจในกระบวนการ ขั้นตอนการหาตำแหน่งของรถยนต์ การตรวจนับจำนวนรถที่วิ่งบนถนนและตรวจจับความเร็วของรถด้วยกล้องวงจรปิด
1.10 แผนผังการทำงาน
1.11 ผู้เสนอโครงการ
                นายพชรศักดิ์  ปราบเสียง  นักศึกษาปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีสาระสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
 1.12 ผู้อนุมัติโครงการ
                ประธานหลักสูตร อาจารย์ที่ปรึกษา และกรรมการ