วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

WEB SERVICE บริการธุรกิจรับชำระเงินค่าสาธารณูปโภคต่างๆ


WEB SERVICE 


บริการธุรกิจรับชำระเงินค่าสาธารณูปโภคต่างๆ

          เป็นศูนย์บริการธุรกิจรับชำระเงินค่าสาธารณูปโภคต่างๆ  เป็นผู้รับฝากชำระเงิน ให้กับสมาชิกที่ต้องการฝากชำระเงิน เหมือน จุดรับฝากชำระเงินทั่วๆ ไป แต่ทางเราเป็นระบบออนไลน์ จึงมีเงื่อนไขต่างๆ ต่างจากผู้ให้บริการรับชำระเงินรายอื่น และ การให้บริการดังนี้

          1. ทางเรารับผิดชอบในเรื่องการชำระค่าใช้จ่าย แต่ไม่รับผิดชอบเรื่องใบเสร็จ/ใบกำกับภาษี จากผู้ออกบิล ทั้งนี้ระบบเป็นแบบ Online ทางเราไม่ใช่ผู้ออกบิลให้ แต่คุณจะได้รับใบเสร็จรับเงินนั้นๆ จากบริการที่คุณชำระเท่านั้น ดังนั้น หากไม่ได้รับใบเสร็จกรุณาตรวจสอบกับผู้ให้บริการสาธารณูปโภคนั้นเอง ทางเรารับผิดชอบเพียงการตรวจสอบ ระบบตัดยอดชำระเงินของคุณ และตรวจให้ได้ว่า ยอดเงินได้ทำการชำระแล้วหรือยังเท่านั้น

          2. การให้บริการของเรา และค่าบริการ รวมถึงผลตอบแทน อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งนี้เพราะทางเรา เป็นเพียงผู้รับรายย่อย ที่ได้รับส่วนลด หรือ บริการต่างๆ มาจากผู้ให้บริการหลักๆ เช่นกัน ดังนั้นค่าบริการ หรือผลตอบแทนต่างๆ จึงเปลี่ยนแปลงได้ตามผู้ให้บริการหลัก ซึ่งจะมีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้า อย่างน้อย 7 วัน

          3. กรณีสมาชิกไม่ต้องการใช้บริการ หรือ มีปัญหาต่างๆ ใดๆ นอกเหนือจากบริการปกติ ทางเราขอสงวนสิทธิ์ให้บริการ และตรวจสอบบริการ จากสมาชิกที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นเจ้าของบัญชี (ชื่อเดียวกับผู้สมัคร) เท่านั้น หากสมาชิกนำรายชื่ออื่น บุคคลอื่น มาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต ทางเราต้องปิดบัญชีนั้น โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น

          4. ธุรกิจของเราไม่ใช่ธุรกิจขายตรง แต่เป็นธุรกิจที่มีไว้ชำระค่าบริการรายย่อยทั่วๆ ไป ที่เปิดให้บริการเหมือนกับผู้ให้บริการรายย่อยแบบ offline ทั่วๆ ไป และไม่ใช่การนำเงินของรายใหม่มาจ่ายรายเก่า เพราะทางสมาชิกใหม่ สามารถใช้บริการจ่ายและชำระสาธารณูปโภคต่างๆ ได้ทันที ไม่มีการนำเงินของสมาชิกไปใช้ในวัตถุประสงค์ อื่นใดนอกเหนือจากใช้จ่ายบริการตามที่สมาชิกกำหนดเท่านั้น

          5 . ผลตอบแทนต่างๆ ของเรา มีไว้เพื่อโฆษณาและแผนการตลาดเท่านั้น ไม่ได้นำเงินของสมาชิกใหม่มาจ่ายให้คุณ ดังนั้นหากมีการยกเว้นแผนการตลาดส่วนนี้ จะแจ้งให้สมาชิกทราบก่อนล่วงหน้าอย่างนี้ 30 วัน

          6. บริการของทางเรา ไม่ใช่บริการในรูปแบบของเงินอิเลคทรอนิคส์ ซึ่งสามารถฝากถอนโอน ให้ได้เหมือนทั่วๆ ไป แต่มีไว้เพื่อจุดประสงค์ในการนำเงินสด เข้ามาเพื่อชำระค่าบริการต่างๆ เท่านั้น การยกเครดิตให้กับสมาชิกอื่น หรือ บุคคลที่สาม ในลักษณะใด ที่เข้าข่ายทำเพื่อโยกย้ายเงิน , ฟอกเงิน หรือในแบบ เงินอิเลคทรอนิคส์ จึงไม่อาจทำได้ เพราะทางเราต้องตรวจสอบเหตุผลในการยกเครดิตให้สมาชิกอื่นๆ แบบ offline

          7 . หากมีข้อพิพาททางกฎหมายใดๆ ระหว่าง สมาชิกกับผู้ให้บริการสาธารณูปโภคและทาง เรา ไม่ใช่ผู้เกี่ยวข้องใดๆแล้ว สงวนสิทธิ์ในการช่วยเหลือหรือข้องเกี่ยวทางด้านกฎหมายกับสมาชิก แต่จะช่วยประสานงานให้ได้

          8. เมื่อฝากเงินเข้าระบบไปแล้ว ไม่สามารถถอนคืนได้ เว้นเสียแต่ ท่านต้องการเลิกใช้บริการ สามารถถอนเงินคืนทั้งหมดได้โดยไม่มีค่าธรรมเนียมใดๆ และจะได้รับเงินภายใน 3 วัน

          9. ระบบชำระเงินของทางเรา มีการตรวจสอบได้จำกัดไม่เกินภายในระยะเวลาที่แสดงไว้ในแต่ละบริการ ดังนั้นหากสมาชิกที่มีการเรียกร้องหรือ ตรวจสอบช้าเกินกว่าที่ระบุไว้แล้ว ถือว่าทางเราได้ชำระไปอย่างถูกต้องแล้ว สมาชิกไม่สามารถเรียกร้องใดๆ ได้

          ในกรณีที่สมาชิกมีข้อพิพาทถกเถียง หรือ แย้งในการให้บริการใดๆ ว่าไม่ได้รับชำระจริง สามารถเรียกตรวจสอบได้ตามเวลาดังนี้

•  เติมเงินมือถือ ภายใน 24 ชั่วโมง
•  ชำระค่าบริการบัตรเครดิต ภายใน 5 วัน
•  ค่าไฟฟ้า ภายใน 14 วัน
•  ค่าไฟฟ้าเกินกำหนดภายใน 7 วัน
•  บิลต่างๆ ภายใน 14 วัน

          หากรายการใดๆ ที่ชำระแล้ว ไม่โต้แย้งเข้ามาภายในเวลาที่กำหนด ทางเราขอสงวนสิทธิ์ ไม่ตรวจสอบให้ และไม่คืนค่าบริการให้ เพราะทางเราไม่สามารถตรวจสอบได้เช่นกันหากเกินเวลาที่กำหนด ตัวอย่างค่าไฟฟ้า ระบบของทางเราจะตรวจสอบยอดค้างชำระนั้นๆ ก่อนจ่ายเข้าไป เมื่อจ่ายเข้าไปแล้ว ยอดค้างในการไฟฟ้าจะถูกหักลง และไม่มีหนี้ในระบบ แต่ถ้าหากเกินกว่า 14 วัน อาจจะมีรอบบิลใหม่เข้ามาแทน ทำให้เราไม่สามารถทราบได้ว่ายอดค้างนั้นเป็นของเดิม หรือ ของใหม่เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554

คำถามที่ต้องการจะถามในการเรียน วันที 20/08/2011 ตั้งคำถามเองและตอบเอง



แนวโน้ม E-Commerce ในประเทศไทยปัจจุบันเป็นยังไง

>>>ดังนั้นหากดูสภาพของการค้าขาย E-Commerce ในช่วงนี้ อาจจะต้องแยกเป็น "การค้าขายภายในประเทศ" และ "การค้าขายกับต่างประเทศ" ซึ่งดูจากแนวโน้มของ การค้าขายบนโลกออนไลน์ของไทยในปัจจุบัน ถือว่ายังมีแรง และกระแสเข้ามามาก โดยปัจจัยเด่นๆ เกิดจากจำนวนร้านค้าและธุรกิจที่เริ่มข้ามาสู่โลกออนไลน์มีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสาเหตุมาจาก "การเริ่มต้นทำการค้าขายทางออนไลน์สามารถทำได้ง่ายมากขึ้น" รวมถึงระบบชำระเงินและระบบขนส่งเริ่มดีและง่ายมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก ทำให้ผู้ประกอบการสามารถเริ่มต้นและเข้าสู่การค้าออนไลน์ได้ง่าย  และปัจจัยนึงที่จะช่วยทำให้ การค้าในโลกออนไลน์ของภายในประเทศไทยเกิดขึ้นได้เพิ่มมากขึ้น เพราะเนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ทำให้หลายๆ ธุรกิจเริ่มหันมามอง ช่องทางใหม่ ๆที่จะหาลูกค้าใหม่ๆ และเพิ่มรายได้ให้กับตัวเอง ซึ่งหลายๆ ธุรกิจก็หันมามองการค้าขายทางออนไลน์ ที่สามารถช่วยเพิ่มช่องทางการขายไปยังคนทั่วประเทศและทั่วโลก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงผู้ซื้อภายในประเทศซึ่งเดียวนี้มีความรู้มากขึ้น ซึ่งหลายๆ คนมักจะเข้าไปค้นหาและซื้อหาสินค้าทางออนไลน์ เพราะด้วยความสะดวก และสามารถหาสินค้าได้ในราคาที่ถูกว่าท้องตลาดทั่วไปได้อย่างง่ายดาย  ยกตัวอย่างเช่น ตอนนี้โทรศัพท์ 3G รุ่นใหม่ที่เข้ามาขายใน ตามร้านค้าต่างๆ มีราคา 1-2 หมื่น แต่ในเว็บไซต์ www.ThaiSecondhand.com กลับสามารถหาโทรศัพท์รุ่นนี้ได้ในราคาเพียง  หมื่นนิดๆ เท่านั้น นี้คือตัวอย่างของความได้เปรียบทางด้านราคา ที่เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ซื้อเริ่มเข้ามาซื้อสินค้าทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

The Impact of Electronic Commerce Environment on User Behavior ผลกระทบของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่อสภาพแวดล้อมเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้ใช้


The Impact of Electronic  Commerce Environment on  User Behavior
ผลกระทบของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่อสภาพแวดล้อมเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้ใช้
สารพิษจากขยะไอที ขยะอิเล็กทรอนิกส์ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากสังคมเทคโนโลยี



          ในยุคที่เทคโนโลยีต่างๆ  เจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว สิ่งหนึ่งซึ่งมวลมนุษยชาติมิอาจมองข้ามไปได้คือขยะที่เกิดจากเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เพราะขยะดังกล่าวไม่อาจสูญสลายไปตามธรรมชาติได้ และถูกจัดว่าเป็น ขยะพิษซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากสารอันตรายที่ปนเปื้อนมากับของเสีย  ปัจจุบัน องค์กรอนุรักษ์ในต่างประเทศ กำลังให้ความสำคัญกับกระบวนการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์กันมาก โดยพยายามล็อบบี้รัฐบาล และผู้ผลิตในอุตสาหกรรม ให้ออกมาชี้ให้เห็นถึงพิษภัยของขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-waste ที่เป็นอุปกรณ์ที่ทิ้งแล้วจำพวกอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าประกอบด้วย พีซี, จอมอนิเตอร์ และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์อื่นๆ จะมีส่วนผสมของโลหะมีพิษชนิดต่างๆ อยู่ในตัว อาทิ สารตะกั่ว, สารปรอท และแคดเมียม รวมทั้งสารเคมีอีกสารพัดชนิด และจะกลายเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างรุนแรงทันที หากมีโอกาสเข้าไปปะปนอยู่ในสิ่งแวดล้อม  ซึ่งเป็นอันตรายจากการนำขยะเหล่านี้มาทิ้งบนพื้นดิน, อันตรายจากสารพิษ ที่ได้จากการเผา หรือแม้แต่อันตรายจากการนำพีซีมาแยกชิ้นส่วน ด้วยวิธีการที่ไม่ถูกต้อง  หรือแม้กระทั่ง เทคโนโลยีที่ล้าสมัยเร็วขึ้น ล้วนเป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์พอกพูนอย่างไม่รู้จบ รวมทั้งพฤติกรรมของผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่เห็นว่าการซื้อเครื่องใหม่จะถูกกว่าและง่ายกว่าการปรับแก้เครื่องเดิม เช่น การซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ๆ เมื่อมีรุ่นใหม่ออกจำหน่าย ที่มีความจุและความเร็วมากกว่า สามารถใช้กับโปรแกรมที่ทันสมัยได้ เป็นต้น  ซึ่งเกิดปัญหาของเสียคอมพิวเตอร์ (Computer Waste) ขึ้นอย่างมากในปัจจุบันนี้
อันตรายจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ คือ การทำให้สารโลหะหนักแพร่กระจายเข้าสู่สิ่งแวดล้อม เพราะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่จะมีพวกโลหะหนักพวกแคดเมียม หรือโครเมียม เป็นส่วนประกอบ เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า โลหะหนักพวกนี้สลายตัวได้ยาก หากเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ทางห่วงโซ่อาหารจะกระทบต่อระบบเยื่อสมอง หากเป็นสารปรอทจะไปทำลายการทำงานของไต รวมถึงการกระจายของโลหะหนักในแม่น้ำ
ทั่วโลกตื่นตัวการรับมือขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งทำให้คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ฝ่ายสภาวะแวดล้อม ซึ่งรับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อม ได้จัดทำร่างกฎระเบียบเกี่ยวกับเศษเหลือทิ้งของผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจัดทำเพื่อป้องกันเศษเหลือทิ้งของผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่จะมีผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อม และให้มีการนำเศษเหลือทิ้งของผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่หมดอายุการใช้งานแล้ว (End of Life) นํากลับมาใช้ใหม่ (Re-use and Recycle) เพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบจากปริมาณขยะที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม
สิ่งที่ประเทศไทยได้ทำคือการจัดทำกรอบระเบียบเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ครั้งแรกของไทย พร้อมทั้งเป็นกรอบที่รองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากระเบียบของสหภาพยุโรปด้วยเช่นกัน ทั้งนี้กรอบระเบียบที่กำหนดไว้นั้นประกอบด้วย แนวทางการควบคุมที่ต้นทาง โดยการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ภาษี จากผู้นำเข้าสินค้าและผู้ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ แล้วนำเงินไปบริหารจัดการ โดยจะมีการออกฎหมายเก็บค่าธรรมเนียม การตั้งกองทุนสิ่งแวดล้อม การจัดการซากอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างทาง โดยจะไม่มีกฎหมายบังคับ แต่จะใช้มาตรการทางด้านกลไกตลาด และแนวทางสุดท้ายเป็นการควบคุมที่ปลายทางจะสนับสนุนให้เกิดโรงแยกขยะแบบครบวงจร
สำหรับระเบียบว่าด้วยการจำกัดการใช้สารอันตรายบางชนิดในผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Restrictions on Harzardous Substances : RoHS) เป็นมาตรการจำกัดใช้สารอันตรายบางชนิด ที่ใช้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่จะเข้าไปจำหน่ายในตลาด EU หลังกรกฎาคม ปี 2549 เนื่องจากสารอันตรายเหล่านี้ ล้วนมีผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หากแพร่กระจายลงสู่ดิน หรือแหล่งน้ำธรรมชาติ อีกทั้งการกำจัด ก็มีใช้ค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้น ผู้ผลิตต้องลดการใช้ให้อยู่ในปริมาณจำกัด หรืองดใช้สารอันตราย 6 ชนิด ดังนี้
1. ตะกั่ว (Lead)
   เป็นโลหะที่ใช้ในอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์มานาน ใช้ฉาบจอแก้ว
2. หลอดรังสีแคโทด (Cathode Ray Tube : CRT)
                     หลอดภาพเครื่องรับโทรทัศน์ และจอมอนิเตอร์คอมพิวเตอร์ ยังใช้บัดกรีส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ บนแผงวงจรไฟฟ้า
3 . แคดเมี่ยม (Cadmium)
     พบในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วัสดุกึ่งตัวนำ (Semiconductors) อุปกรณ์ตรวจจับอินฟราเรด (Infrared Detectors) หลอดภาพรุ่นเก่า เป็นต้น
4. ปรอท (Mercury)   
    ถูกใช้กว้างขวางในชิ้นส่วนไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น เทอร์โมสตัด (Thermostat) รีเลย์ แบตเตอรี่ สวิทซ์ขนาดเล็กบนแผงวงจรอุปกรณ์ตรวจวัด (Measuring Equipment)
5. โพลี-โบรมิเนท-ไบเฟนิล (Poly Brominated Biphenyls : PBB)
      นิยมใช้ในอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ใช้เป็นสารทนไฟ (Flame-Retardants)
6. โพลี-โบรมิเนท-ไดเฟนิล-อีเทอร์ (Poly Brominated Diphenyl Ethers : PBDE)

                แต่ละชนิดก่อให้เกิดอันตราย ดังนี้
1. ตะกั่ว (Lead)
 พิษของตะกั่วจะทำลายระบบประสาท ต่อมไร้ท่อ ไต ระบบเลือด และการพัฒนาสมองของเด็ก พิษเรื้อรังของตะกั่วจะค่อยๆ แสดงอาการออกมา ภายหลังจากได้รับสารตะกั่วทีละน้อยเข้าสู่ของเหลวในร่างกาย และค่อยๆ สะสมในร่างกาย จนถึงระยะเวลาหนึ่งอาจนานเป็นปี จึงแสดงอาการ ส่วนมากเกิดกับบุคคลที่มีอาชีพที่สัมผัสกับตะกั่ว
      2. ปรอท(Mercury)
ปรอทเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะไปทำอันตรายต่อระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งได้แก่ สมอง และไขสันหลัง ทำให้เสียการควบคุมเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของแขน ขา การพูด และยังทำให้ระบบประสาทรับความรู้สึกเสียไป เช่น การได้ยิน การมองเห็น ซึ่งอันตรายเหล่านี้เมื่อเป็นแล้วไม่สามารถรักษาให้กลับดีดังเดิมได
       3.  คลอรีน (Chlorine)
 คลอรีนปรากฎอยู่ในพลาสติกพีวีซี ซึ่งก่อให้เกิดสารก่อมะเร็งไดออกซินเมื่อพลาสติกถูกเผา สารเคมีชนิดนี้มีผลต่อระบบหายใจ ระคายจมูก และทำให้เคลือบฟันผุ
       4. แคดเมียม (Cadmium)
แคดเมียมมีพิษอย่างเฉียบพลัน ทางเดินหายใจทำให้เกิดปอดอักเสบรุนแรง ไตวาย ไตถูกทำลายมีโปรตีนในปัสสาวะ ร่างกายขับกรดอะมิโน กลูโคส แคลเซียม และฟอสเฟตในปัสสาวะมากขึ้น ทำให้เกิดเป็นนิ่วในปัสสาวะได้ โรคปวดกระดูก โรคอิไต-อิไต ปวดสะโพก (Hip pain) ปวดแขน ขา (extremity pain) มีวงแหวนแคดเมียม (yellow ring) ปวดกระดูก (Bone pain) ปวดข้อ (joint pain) มีความผิดปกติที่กระดูกสันหลัง ทำให้มีลักษณะเตี้ย หลังค่อม
         5. โบรมีน(Bromine)
โบรมีนเป็นสารก่อมะเร็ง และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี และรูปทรงของเส้นใยกล้ามเนื้อหัวใจ สารประกอบโบรมีนใช้เป็นตัวหน่วงการลุกติดไฟ (Brominated Flame Retardants, BFRs) ของตัวตู้คอมพิวเตอร์และแผงวงจร หมึกพิมพ์เป็นสารก่อมะเร็ง และสารประกอบฟอสเฟตที่ใช้เคลือบภายในหลอดภาพ CRT มีความเป็นพิษสูงเพราะมีส่วนผสมของแคดเมียม สังกะสี และวานาเดียม เป็นต้น

การจัดการของเสียอิเล็กทรอนิกส์
                ปัจจุบัน องค์กรอนุรักษ์ในต่างประเทศ กำลังให้ความสำคัญกับกระบวนการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์กันมาก โดยพยายามล็อบบี้รัฐบาล และผู้ผลิตในอุตสาหกรรม ให้ออกมาชี้ให้เห็นถึงอันตรายจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อี-เวสท์ (e-waste) ให้สาธารณชนเห็นอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นอันตรายจากการนำขยะเหล่านี้มาทิ้งบนพื้นดิน, อันตรายจากสารพิษ ที่ได้จากการเผา หรือแม้แต่อันตรายจากการนำพีซีมาแยกชิ้นส่วน ด้วยวิธีการที่ไม่ถูกต้อง
หน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในสหรัฐอเมริกา ประเมินว่า ผู้บริโภคชาวอเมริกันสร้างขยะอิเล็กทรอนิกส์มากเกือบ 2 ล้านตัน ในปี 2548 ขณะที่การ์ทเนอร์ บริษัทวิจัยในอุตสาหกรรมไอทีประเมินว่าคอมพิวเตอร์ราว 133,000 เครื่องถูกทิ้งทั้งจากบ้านอยู่อาศัยและภาคธุรกิจในแต่ละวัน ที่สำคัญมีเพียง 10-15% ของขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดที่ถูกนำไปรีไซเคิลเพื่อนำกลับไปใช้ใหม่ โดย 80% ของการรีไซเคิลส่งออกไปยังต่างประเทศเพื่อเข้าร้านแยกชิ้นส่วน ที่มีลูกจ้างค่าแรงถูกคอยทำหน้าที่แยกส่วนประกอบและวัตถุมีค่าภายในเครื่องออกมา ส่วนพวกที่เหลือกลายเป็นวัตถุให้ฝุ่นจับอยู่ในบ้าน หรือนำไปกองทิ้งไว้ที่ลานทิ้งขยะของชุมชน ซึ่งเสี่ยงต่อการรั่วไหลของสารพิษ
หากไม่มีการควบคุมหรือ ตรวจสอบการใช้งานและโยนทิ้ง ขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้จะทวีความรุนแรงไม่เพียงก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและรวมถึงส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนทั้งในวันนี้และอนาคต จากสารอันตรายที่เป็นชิ้นส่วนประกอบอยู่ในเครื่อง จึงเป็นที่มาให้ยูเอ็นริเริ่มโครงการบรรเทาปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ (Solving the E-Waste Problem: StEP) เพื่อรณรงค์การลดปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก ภายใต้ความร่วมมือทั้งจากหน่วยงานของภาครัฐ และเอกชน ซึ่งมีบริษัทด้านไอทีที่เข้าร่วมหลักๆ เช่น ไมโครซอฟท์ อีริคสัน ฮิวเลตต์-แพคการ์ด (เอชพี) และเดลล์ เพื่อสร้างมาตรฐานการรีไซเคิลอุปกรณ์ให้เป็นมาตรฐานโลก และขยายอายุการใช้งานผลิตภัณฑ์ให้ยาวนานขึ้น ทั้งยังเพื่อกระตุ้นตลาดขายสินค้ามือสอง
ในประเทศไทย ขณะนี้ กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำลังดำเนินการออกมาตรการในการดูแลการผลิตและกำจัดซากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่มีส่วนประกอบของสารอันตราย ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการประชาสัมพันธ์เรื่องดังกล่าวให้ผู้ประกอบการรับทราบ ทั้งโดยการจัดสัมมนาทำความเข้าใจ และส่งหนังสือชี้แจงไปยังผู้ผลิต  นอกจากนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงวิทยาศาสตร์ โดยมีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นแม่งาน ได้ทำการร่างยุทธศาสตร์การจัดการซากเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในส่วนของการจัดเก็บ การรวบรวม และการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะกำหนดให้ผู้ผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งสินค้ามายังประเทศไทยดูแลและออกค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะอิล็กทรอนิกส์ในลักษณะเดียวกับ WEEE และ RoHS
ถึงแม้หน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ จะพยายามหาแนวทางดูแลป้องกันและหาแนวทางในการจัดการกับขยะไอที  แต่ถ้าไม่ได้มีโครงการให้ความรู้กับประชาชนผู้ใช้บริการ หรือ หน่วยงานทั้งเอกชนและรัฐบาล หรือสถานศึกษาขนาดใหญ่ ต่าง ๆ ซึ่งมีขยะไอทีประเภท  Computer Waste  เป็นจำนวนมาก เมื่อหมดอายุการใช้งานไม่รู้จะเอาไปทิ้งอย่างไรทิ้งที่ไหน จึงจะถูกวิธี ไม่เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม  และควรจะมีหน่วยงานประชาสัมพันธ์รับจัดการกับขยะไอทีอย่างเป็นทางการ  ก่อนที่สารพิษที่เกิดจากขยะไอทีจะทำลายสิ่งแวดล้อมโลกและมนุษย์ ไปมากกว่านี้

กรณีศึกษาระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) ของบริษัทเงินทุน Fidelity


กรณีศึกษาระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) ของบริษัทเงินทุน Fidelity

ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) ของบริษัทเงินทุน Fidelity
 
ในอดีตถ้าจะรวบรวมข้อมูลที่ต้องการเพื่อจัดทำรายงานขนาด 45 หน้า เพื่อแจกให้แก่กรรมการการเงินระดับอาวุโสนั้นต้องใช้เจ้าหน้าที่ถึง 10 คน และต้องใช้เครือข่าย Sneaker ช่วยในการรวบรวมข้อมูล แต่ปัจจุบันนี้ข้อมูลส่วนใหญ่จะได้จากการเชื่อมตรง (On-line) ในระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) หรือระบบข้อมูลข่าวสารสำหรับผู้บริหาร ดังนั้นลักษณะงานที่ต้องใช้คนจำนวนมากถึง 10 คน จึงถือว่าล้าสมัยไปแล้ว

ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) ได้เปลี่ยนรูปแบบการทำงานของผู้บริหารในบริษัทเงินทุน Fidelity จากการรับข้อมูลจากรายงานที่แจกด้วยสำเนาเอกสาร มาเป็นการรับข้อมูลปฏิบัติการผ่านระบบคอมพิวเตอร์จากระบบฐานข้อมูลได้ทันที ทำให้ผู้วิเคราะห์ข้อมูลและผู้บริหารใช้ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) เพื่อรับข้อมูลที่ต่อเชื่อมตรง (On-line) ผ่านไมโครคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย (Network) จึงไม่จำเป็นต้องผลิตรายงานแบบนำมาปะติดปะต่อกันอีก เพราะรายงานที่รวบรวมได้นั้นสามารถส่งถึงผู้ใช้ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) ได้มากกว่า 100 ราย บริษัทเงินทุน Fidelity มีความภาคภูมิใจที่ได้ลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันในตลาดการเงินที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทั้งในประเทศและต่างประเทศทั่วโลก
 
บริษัทเงินทุน Fidelity ทำการบริหารกิจการเงินทุนร่วม (Mutual fund) มากกว่า 60 ราย รวมทั้งบริษัทเงินทุน McGallan ด้วย บริษัทที่ใหญ่ที่สุด คือ American Mutual Fund ซึ่งดำเนินงานกิจการที่มีมูลค่าถึง 165 พันล้านดอลลาร์
 
เป็นที่เข้าใจกันว่าการจัดทำระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่มีความสมบูรณ์ การใช้เครื่องเมือเพื่อสร้างตัวแบบสิ่งอำนวยความสะดวกที่จะสามารถช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจได้อย่างถูกต้องไม่ใช่เรื่องเล็ก ระบบใหม่ซึ่งเรียกว่า เฟมิส (Famis)” เป็นการบริหารด้านการเงินและการบริหารด้านข่าวสารซึ่งช่วยให้สามารถบ่งชี้และเลือกใช้ข้อมูลได้โดยง่าย นอกจากนั้นอาจใช้ซอฟต์แวร์ Excel หรือโปรแกรมตัวแบบของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) ร่วมด้วย ซึ่งจะทำให้ข้อมูลถูกจัดเก็บไว้ในรูปแบบต่าง ๆ ของระบบแฟ้มข้อมูล


บุคคลในวงการธนาคารได้มีปฏิกิริยาในทางบวกต่อระบบเฟมิส (Famis) ดังกล่าว ผู้วิเคราะห์และผู้จัดการฝ่ายการเงินชี้แจงว่ามีความพอใจระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ และรู้สึกขอบคุณที่มีสิทธิ์ได้เข้าสู่ระบบข่าวสารที่ทันเหตุการณ์และมีส่วนเกี่ยวข้องกับหน้าที่การานของตน บุคคลเหล่านี้มีความเชื่อมั่นต่อโครงการของตนมากขึ้น และมีความรู้สึกว่าสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของตลาดหุ้นได้รวดเร็วยิ่งขึ้น อันจะเป็นประโยชน์และมีความสำคัญยิ่งขึ้นในภาคการบริการด้านการเงิน
 
เจ้าหน้าที่ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS) หรือเจ้าหน้าที่ระบบการบริหารด้านข่าวสารมีความตั้งใจที่จะเพิ่มพูนประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) ของบริษัทเงินทุน Fidelity อย่างต่อเนื่อง นายอัลเบิร์ด นิคมี ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาระบบและหัวหน้าโครงการระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) มีความสนใจเป็นพิเศษ ในการที่จะเพิ่มขีดความสามารถในส่วนที่บกพร่องของระบบ EIS


ปัญหาและข้ออภิปราย
1. ข้อดีและข้อเสียของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) มีอะไรบ้าง
 ในทางปฏิบัติไมมีระบบสารสนเทศใดที่มีความทันสมัยและสมบูรณ์อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับ EIS เราจะกล่าวถึงข้อดีและข้อจำกัดของ EIS ดังต่อไปนี้
ข้อดีของระบบ EIS
1. ง่ายต่อผู้บริหารระดับสูงในการใช้งาน
2. การใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์
3. ให้สารสนเทศสรุปของบริษัทในเวลาที่ต้องการ
4. ทำให้สามารถเข้าในสารสนเทศได้ดีขึ้น
5. มีการกรองข้อมูลให้ประหยัดเวลา
6. ทำให้ระบบสามารติดตามสารสนเทศได้ดีขึ้น

ข้อด้อยของระบบ EIS
1. มีข้อจำกัดในการใช้งาน
2. อาจทำให้ผู้บริหารจำนวนมากรู้สึกว่าได้รับข้อมูลมากเกินไป
3. ยากต่อการประเมินผลประโยชน์ที่ได้จากระบบ
4. ไม่สามารถทำการคำนวณที่ซับซ้อนได้
5. ระบบอาจนะใหญ่เกินกว่าที่จะจัดการได้
6. ยากต่อการรักษาข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
7. ก่อให้เกิดปัญหาการรักษาความลับของข้อ

นอกจากข้อดีและข้อจำกัดของ EIS ระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพต้องได้รับการตรวจสอบ ประเมินผล และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ EIS เนื่องจากความต้องการสารสนเทศของผู้บริหารมีความละเอียดอ่อน ยือหยุ่น ตรงตามความต้องการ และทันเวลา โดยเฉพาะ EIS จะเป็นระบบที่ต้องการในองค์การต่างๆ มากขึ้นในอนาคต แม้ว่าในปัจจุบันการพัฒนาระบบจะต้องเสียค่าใช้จ่ายมากก็ตาม แต่ถ้าได้รับการวางแผนและดำเนินงานอย่างรัดกุม EIS ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการตัดสินใจของผู้บริหาร ซึ่งจะสร้างประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่องค์การได้เป็นอย่างมาก มิเช่นนั้นการใช้ EIS อาจจะก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมและการสูญเสียหรือการเสียเปล่าในการลงทุนขององค์การ
2. เหตุใดการออกแบบระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) จึงเป็นการยากมากสำหรับบริษัทเงินทุน Fidelity
เพราะในการออกแบบระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารนั้น ทำให้บริษัทเงินทุน Fidelity ต้องบริหารกิจการเงินทุนที่มีมูลค่ามาก และต้องซื้ออุปกรณ์ที่ทันสมัยในราคาสูงเพื่อคุณภาพที่ดี
3. ท่านคิดว่าระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) ของบริษัทเงินทุน Fidelity จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้อย่างไร
การดำเนินธุรกิจที่ซับซ้อนและทั้งความรุนแรงในการแข่งขัน ทำให้ผู้บริหารต้องสามารถตัดสินใจอย่างถูกต้อง รวดเร็ว จึงต้องอาศัยสารสนเทศที่เหมาะสมดังที่มีผู้กล่าวว่า สารสนเทศ คือ อำนาจทุกองค์การจึงต้องจัดหาและจัดการสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพแต่บุคลากรบางกลุ่มในองค์การจะมีความต้องการสารสนเทศที่เฉพาะ เช่น ผู้บริหารจะมีความแตกต่างจากผู้ใช้ข้อมูลในระดับอื่นที่ต้องการข้อมูลที่ชัดเจน ง่ายต่อการตัดสินใจ ไม่ต้องเสียเวลาประมวลผลอีก ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร หรือ EIS ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อจัดการสารสนเทศของผู้บริหารมีความต้องการข้อมูลที่มีความแตกต่างจากบุคลากรกลุ่มอื่นขององค์การ โดยเฉพาะลักษณะของงานของผู้บริหารในปัจจุบันที่มีความสำคัญกับองค์การและมีระยะเวลาจำกัดในการตัดสินใจแก้ปัญหา เมื่อมีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นซึ่งมีผลกระทบต่อองค์การ ปัจจุบันมีผู้เข้าใจผิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะบุคคลที่เข้ารับการสัมมนาระยะสั้น หรือผู้ที่รับข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไม่สมบูรณ์ โดยคิดว่าระบบสารสนเทศเป็นแก้วสารพัดนึกที่ผู้ใช้สามารถเรียกข้อมูลทุกประเภท โดยเฉพาะ EIS ประการสำคัญเนื่องจากผู้บริหารระดับสูงในหลายองค์การยังมีความเข้าใจที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งทำให้เกิดความคาดหวังที่คลาดเคลื่อนจากความสามารถของระบบสารสนเทศ ซึ่งจะมีผลต่อความประทับใจ ความเชื่อมั่นและการสนับสนุนต่อการพัฒนาระบบในอนาคต 

ท่านคิดว่าภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศมีกี่ภาษา (นามสกุล) พร้อมระบุข้อดีข้อเสียของแต่ละภาษาดังกล่าว


ท่านคิดว่าภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศมีกี่ภาษา (นามสกุล) พร้อมระบุข้อดีข้อเสียของแต่ละภาษาดังกล่าว

ภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer Programming Language)

ชนิดของภาษาคอมพิวเตอร์ 

      ภาษาคอมพิวเตอร์เริ่มมาจากในมหาวิทยาลัย หรือในหน่วยงานของรัฐบาลที่ต้องการทำงานบางอย่าง นอกจากนี้ บางภาษาเกิดขึ้นเพราะความต้องการด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และอื่น ๆ อีกมากมาย ทำให้มีภาษาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก
จากการที่มีภาษาจำนวนมากมายนั้น ทำให้ต้องกำหนดระดับของภาษาคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการแบ่งประเภทของภาษาเหล่านั้น การกำหนดว่าเป็นภาษาระดับต่ำหนือภาษาระดับสูง จะขึ้นอยู่กับภาษานั้นใกล้เคียงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (ใกล้เคียงกับรหัส 0 และ 1 เรียกว่า ภาษาระดับต่ำ) หรือว่าใกล้เคียงกับภาษาที่มนุษย์ใช้ (ใกล้เคียงกับภาษาอังกฤษ เรียกว่า ภาษาระดับสูง)
ภาษาเครื่อง (Machine Language)
ก่อนปีค.ศ. 1952 มีภาษาคอมพิวเตอร์เพียงภาษาเดียวเท่านั้นคือ ภาษาเครื่อง (Machine Language) ซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำที่สุด เพราะใช้เลขฐานสองแทนข้อมูล และคำสั่งต่าง ๆ ทั้งหมดจะเป็นภาษาที่ขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือหน่วยประมวลผลที่ใช้ นั่นคือปต่ละเครื่องก็จะมีรูปแบบของคำสั่งเฉพาะของตนเอง ซึ่งนักคำนวณและนักเขียนโปรแกรมในสมัยก่อนต้องรู้จักวิธีที่จะรวมตัวเลขเพื่อแทนคำสั่งต่า ๆ ทำให้การเขียนโปรแกรมยุ่งยากมาก นักคอมพิวเตอร์จึงได้พัฒนาภาษาแอสเซมบลีขึ้นมาเพื่อให้สามารถเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น
ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language)
ต่อมาในปีค.ศ. 1952 ได้มีการพัฒนาโปรแกรมภาษาระดับต่ำตัวใหม่ ชื่อภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language) โดยที่ภาษาแอสเซมบลีใช้รหัสเป็นคำแทนคำสั่งภาษาเครื่อง ทำให้นักเขียนโปรแกรมสามารถเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น ถึงแม้ว่าการเขียนโปรแกรมจะยังไม่สะดวกเท่ากับการเขียนโปรแกรมภาษาอื่น ๆ ในสมัยนี้ แต่ถ้าเปรียบเทียบในสมัยนั้นก็ถือว่าเป็นการพัฒนาไปสู่ยุคของการเขียนโปรแกรมแบบใหม่ คือใช้สัญลักษณ์แทนเลข 0 และ 1 ของภาษาเครื่อง ซึ่งสัญลักษณ์ที่ใช้จะเป็นคำสั่งสั้น ๆ ที่จะได้ง่าย เรียกว่า นิมอนิกโคด (mnemonic code) 
ภาษาระดับสูง (High Level Language)
ในปีค.ศ. 1960 ได้มีการพัฒนา ภาษาระดับสูง (High Level Language) ขึ้น ภาษาระดับสูงจะใช้คำในภาษาอังกฤษแทนคำสั่งต่าง ๆ รวมทั้งสามารถใช้นิพจน์ทางคณิตศาสตร์ได้ด้วย ทำให้นักเขียนโปรแกรมสามารถใช้เวลามุ่งไปในการศึกษาถึงทางแก้ปัญหาเท่านั้น ไม่ต้องเป็นกังวลว่าคอมพิวเตอร์จะทำงานอย่างไรอีกต่อไป
ภาษาระดับสูงนี้ถือว่าเป็น ภาษายุคที่สาม (third-generation language) ซึ่งทำให้เกิดการประมวลผลข้อมูลเพิ่มมากขึ้นอย่างมหาศาลระหว่างปี ค.ศ. 1960 ถึง ค.ศ. 1970 และมีผู้หันมาใช้คอมพิวเตอร์กันมากขึ้น โดยสังเกตได้จามเครื่องเมนเฟรมจากจำนวนร้อยเครื่องเพิ่มขึ้นเป็นหมื่นเครื่อง อย่างไรก็ตาม ภาษาระดับสูงก็ยังคงต้องการตัวแปลภาษาให้เป็นภาษาเครื่องเพื่อสั่งให้เครื่องทำงานต่อไป ตัวแปลภาษาที่นิยมใช้งานกันโดยทั่วไปจะเป็นแบบคอมไพเลอร์ ซึ่งแต่ละภาษาก็มีคอมไพเลอร์ไม่เหมือนกัน รวมทั้งคอมไพเลอร์แต่ละตัวก็จะต่างกันไปบนเครื่องแต่ละชนิดด้วย เช่น ถ้าเขียนโปรแกรมภาษา COBOL บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ก็จะต้องเลือกใช้คอมไพเลอร์ภาษา COBOL ที่ทำงานบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ซึ่งการเขียนโปรแกรมภาษาหนึ่งภาษาใดบนเครื่องที่ต่างกันอาจจะแตกต่างกันได้ เพราะคอมไพเลอร์ที่ใช้ต่างกันนั่นเอง
ภาษาคอมพิวเตอร์บางภาษาได้ถูออแบบมาให้ใช้แก้ปัญหางานเฉพาะบางอย่าง เช่น การควบคุมหุ่นยนต์ การสร้างภาพกราฟฟิก เป็นต้น แต่ภาษาคอมพิวเตอร์โดยมากจะมีความยืดหยุ่นให้ใช้งานทั่ว ๆ ไปได้ เช่น ภาษา BASIC ภาษา COBOL หรือภาษา FORTRAN เป็นต้น และนอกจากนี้ยังมีภาษา C ที่ได้รับความนิยมมากเช่นกัน
ภาษาระดับสูงมาก (Very high-level Language)
เป็นภาษายุคที่ 4 (fourth-generation language) หรือ 4GLs จะเป็นภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมได้สั้นกว่าภาษาในยุคก่อน ๆ การทำงานบางอย่างสามารถใช้เพียง 5 ถึง 10 บรรทัดเท่านั้น ในขณะที่ถ้าเขียนด้วยภาษา อาจต้องใช้ถึง 100 บรรทัด โดยพื้นฐานแล้ว ภาษาในยุคที่ 4 นี้มีคุณสมบัติที่แยกจากภาษาใยุคก่อน ๆ อย่างชัดเจน กล่าวคือภาษาในยุคก่อนนั้นใช้หลักการของ การเขียนโปรแกรมแบบโพรซีเยอร์ (procedurl language) ในขณะที่ภาษาในยุคที่ 4 จะเป็นแบบ ไม่ใช้โพรซีเยอร์ (nonprocedurl language) ผู้เขียนโปรแกรมเพียงแต่กำหนดว่าต้องการให้โปรแกรมทำอะไรบ้างก็สามารถเขียนโปรแกรมได้ทันที โดยไม่ต้องทราบว่าทำได้อย่างไร ทำให้การเขียนโปรแกรมสามารถทำได้ง่ายและรวดเร็ว
ภาษาธรรมชาติ (Nature Language)
เป็น ภาษายุคที่ 5 (fifth generation language) หรือ 5GLs ธรรมชาติหมายถึงธรรมชาติของมนุษย์ คือไม่ต้องสนใจถึงคำสั่งหรือลำดับของข้อมูลที่ถูกต้อง ผู้ใช้เพียงแต่พิมพ์สิ่งที่ต้องการลงในเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นคำหรือประโยคตามที่ผู้ใช้เข้าใจ ซึ่งจะทำให้มีรูปแบบของคำสั่งหรือประโยคที่แตกต่างกันออกไปได้มากมาย เพราะผู้ใช้แต่ละคนอาจจะใช้ประโยคต่างกัน ใช้คำศัพท์ต่างกัน หรือแม้กระทั่งบางคนอาจจะใช้ศัพท์แสลงก็ได้ คอมพิวเตอร์จะพยายามแปลคำหรือประโยคเหล่านั้นตามคำสั่ง แต่ถ้าไม่สามารถแปลให้เข้าใจได้ ก็จะมีคำถามกลับมาถามผู้ใช้เพื่อยืนยันความถูกต้อง ภาษาธรรมชาติจะใช้ ระบบฐานความรู้ (knowledge base system) ช่วยในการแปลความหมายของคำสั่งต่าง ๆ


ปัจจุบันนี้มีภาษาคอมพิวเตอร์ให้เลือกใช้มากมายหลายภาษา แต่ละภาษาก็ถูกออกแบบมาให้ใช้กับงานด้านต่าง ๆ กัน ตัวอย่างเช่น บางภาษาก็ออกแบบมาให้ใช้แก้ปัญหาทางธุรกิจ บางภาษาก็ใช้ในการคำนวณที่ซับซ้อน ซึ่งจะกล่าวโดยสรุปถึงการใช้งานของแต่ละภาษาดังนี้
ภาษา BASIC
เป็นภาษาที่ใช้ง่าย และติดตั้งอยู่บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนมาก ใช้สำหรับผู้เริ่มต้นศึกษาการเขียนโปรแกรมและผู้ที่เขียนโปรแกรมเป็นงานอดิเรก นิยมใช้ในการเขียนโปรแกรมสั้น ๆ
ภาษา BASIC รุ่นแรกใช้ interpreter เป็นตัวแปลภาษา ทำให้เขียนโปรแกรม ทดสอบ และแก้ไขโปรแกรมได้อย่างง่ายดาย แต่ก็ทำงานได้ช้า ทำให้ผู้ที่เขียนโปรแกรมเชี่ยวชาญแล้วไม่นิยมใช้งาน แต่ปัจจุบันนี้มีภาษา BASIC รุ่นใหม่ออกมาซึ่งใช้ conplier เป็นตัวแปลภาษา ทำให้ทำงานได้คล่อ่งตัวขึ้น เช่น Microsoft's Quick BASIC และ Visual Basic เป็นต้น
ภาษา COBOL
เป็นภาษาระดับสูงที่ออกแบบมาตั้งแต่ปีค.ศ. 1960 นิยมใช้สำหรับการแก้ปัญหาทางด้านธุรกิจ เช่น การจัดเก็บ เรียกใช้ และประมวลผลทางด้านบัญชี ตลอดจนทำงานด้านการควบคุมสินค้าคงคลัง การรับและจ่ายเงิน เป็นต้น
คำสั่งของภาษา COBOL จะคล้ายกับภาษาอังกฤษทำให้สามารถอ่านและเขียนโปรแกรมได้ไม่ยากนัก ในยุคแรก ๆ ภาษา COBOL จะได้รับความนิยมบนเครื่องระดับเมนเฟรม แต่ปัจจุบันนี้จะมีตัวแปลภาษา COBOL ที่ใช้บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ด้วย รวมทั้งมีภาษา COBOL ที่ได้รับการออกแบบตามแนวทางเชิงวัตถุ (Object Oriented) เรียกว่า Visual COBOLซึ่งช่วยให้โปรแกรมสามารถทำได้ง่ายขึ้น และสามารถนำโปรแกรมที่เขียนไว้มาใช้ในการพัฒนางานอื่น ๆ อีก
ภาษา Fortran
เป็นภาษาระดับสูงที่ได้รับการพัฒนาโดยบริษัท IBM ตั้งแต่ปีค.ศ. 1957 ย่อมาจากคำว่า FORmula TRANslator ซึ่งถือว่าเป็นการกำเนิดของภาษาระดับสูงภาษาแรก นิยมใช้สำหรับงานที่มีการคำนวณมาก ๆ เช่น งานทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น
ภาษา Pascal
เป็นภาษาระดับสูงที่เอื้ออำนวยให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนโปรแกรมได้อย่างมีโครงสร้าง และเขียนโปรแกรมได้ง่ายกว่าภาษาอื่น นิยมใช้บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เป็นภาษาสำหรับการเรียนการสอน และการเขียนโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ
ภาษาปาสคาลมีตัวแปลภาษาทั้งที่เป็น interpreter และ Compiler โดยจะมีโปรแกรมเทอร์โบปาสคาล (Turbo Pascal) ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงทั้งในวงการศึกษาและธุรกิจ เนื่องจากได้รับการปรับปรุงให้ตัวข้อเสียของภาษาปาสคาลรุ่นแรก ๆ ออก
ภาษา C และ C++
ภาษา C ถูกพัฒนาขึ้นโดย ในปีค.ศ. 1972 ที่ห้องปฏิบัติการเบลล์ของบริษัท AT&T เป็นภาษาที่ใช้เขียนระบบปฏิบัติการ UNIX ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมคู่กับภาษาซี และมีการใช้งานอยู่ในเครื่องทุกระดับ
ภาษา เป็นภาษาระดับสูงที่ได้รับความนิยมในหมู่นักเขียนโปรแกรมเป็นอย่างมาก เนื่องจากภาษา จะเป็นภาษาที่รวมเอกข้อดีของภาษาระดับสูงในเรื่องของความยืดหยุ่นและไวยากรณ์ที่ง่ายต่อการเข้าใจ กับข้อดีของภาษาแอสเซมบลีในเรื่องของประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานทำให้โปรแกรมที่พัฒนาด้วยภาษาซีทำงานได้เร็วกว่าโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงอื่น ๆ ในขณะที่การพัฒนาและแก้ไขโปรแกรมสามารถทำได้ง่ายเช่นเดียวกันภาษาระดับสูงทั่ว ๆ ไป นอกจากนี้ภาษา C ยังได้มีการพัฒนาก้าวหน้าขึ้นไปอีก โดยทำการประยุกต์แนวความคิดของการโปรแกรมเชิงวัตถุเข้ามาใช้ในภาษา ทำให้เกิดเป็นภาษาใหม่คือ C++ (++ ในความหมายของภาษาซีคือการเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งนั่นเอง) ซึ่งเป็นภาษาที่ได้รับความนิยมใช้งานพัฒนาโปรแกรมอย่างมาก
ภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object-Oriented Programming Language)
นักเขียนโปรแกรมบางคนคิดว่าการเขียนโปรแกรมขนาดใหญ่นั้น บางครั้งก็เป็นงานที่หนักและเสียเวลามาก จึงได้พยายามคิดหาวิธีที่จะทำให้การเขียนโปรแกรมนั้นง่ายขึ้น และสามารถเขียนได้อย่าวรวดเร็ว ทำให้เกิดเทคนิค การโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object-Oriented Programming) หรือ OOP เพื่อช่วยลดความยุ่งยากของการเขียนโปรแกรม
Object-Oriented Programming ต่างจากการเขียนโปรแกรมโดยทั่ว ๆ ไป โดยการเขียนโปรแกรมตามปกตินั้น ผู้เขียนโปรแกรมจะพิจารณาถึงขั้นตอนการแก้ปัญหาของโปรแกรมเหล่านั้น แต่เทคนิคของ OOPจะมองเป็น วัตถุ (object) เช่น กล่องโต้ตอบ (dialog box) หรือไอคอนบนจอภาพ เป็นต้น โดยออบเจ็คใดออบเจ็คหนึ่งจะทำงานเฉพาะที่แน่นอน ถ้าผู้ใช้ต้องการทำงานชนิดนั้นก็สามารถคัดลอกไปใช้ในโปรแกรมที่ต้องการได้ทันที


หลักการของโปรแกรมเชิงวัตถุได้รับการพัฒนามาเป็นเวลานานแล้ว โดยภาษาเริ่มแรกคือ Simula-67 ได้รับการพัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี 1967 และต่อมาก็มีภาษา smalltalk ซึ่งเป็นภาษาเชิงวัตถุเต็มรูปแบบ นอกจากนี้ หลักการของ OOP ยังได้รับการนไปเสริมเข้ากับภาษาโปรแกรมในยุคที่ 3 คือ C จนเกิดเป็นภาษาใหม่คือ C++ รวมทั้งยังมีการเสริมเข้ากับ การโปรแกรมแบบภาพ (visual programming) ทำให้เกิด Visual Basic ซึ่งมีรากฐานมาจาก BASIC และ Delphi ซึ่งมีรากฐานมาจาก Pascal นอกจากนี้ ในปัจจุบันจะมีภาษาที่ใช้หลักการโปรแกรมเชิงวัตถุตัวใหม่ล่าสุดซึ่งกำลังมาแรงและมีแนวโน้มว่าจะได้รับความนิยมสูงคู่กันอินเตอร์เน็ต นั่นคือภาษา JAVA
ภาษาที่ออกแบบมาสำหรับ OOP
การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ที่มี การติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟฟิก (Graphical User Interface หรือ GUI) เช่น Microsoft Windows และ World Wide Web จะสามารถทำได้ง่าย รวดเร็วและเสียค่าใช้จ่ายไม่มากนัก ด้วยเครื่องมือในการพัฒนาที่ใช้หลักการของ OOP ซึ่งในปัจจุบันจะมีเครื่องมือประเภทนี้ที่ได้รับความนิยมอย่างมากอยู่ 2 ภาษา คือ Visual Basic และ JAVA
Visual Basic
ภาษา Visual Basic พัฒนาโดย Prof. Kemeny และ Kurtz ที่เมือง Dartmouth ในปีค.ศ. 1960 โดยมีจุดประสงค์สำหรับใช้สอนในห้องคอมพิวเตอร์ เมื่อมีการพัฒนาเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ขึ้นในยุคแรก ๆ จะมีหน่วยความจำไม่เพียงพอที่จะทำงานกับโปรแกรมภาษาอื่น เช่น FORTRAN และ COBOL เพราะขนาดของตัวแปรภาษาซึ่งต้องใช้หน่วยความจำสูงมาก แต่เครื่องเหล่านั้นสามารถใช้ภาษา BASIC ได้ เพราะภาษา BASIC ใช้ตัวแปลภาษาที่มีขนาดเล็ก และตัวแปลภาษานั้นไม่ต้องเก็บอยู่ในหน่วยความจำทั้งหมดก็สามารถทำงานได้ เป็นเหตุให้ภาษา BASIC ได้รับความนิยมบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์จะได้รับการพัฒนาสูงขึ้นในเรื่องของความเร็วและหน่วยความจำเท่าใดก็ตาม แต่ภาษา Visual Basic จะแตกต่างจากภาษา BASIC โดยสิ้นเชิง ทั้งในแง่ของหน่วยความจำที่ต้องการ และวิธีการพัฒนาโปรแกรม

ภาษา Visual Basic ได้รับการออกแบบและพัฒนาโดยบริษัท Microsoft มีจุดประสงค์ในการใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาโปรแกรมที่มีการติดต่อับผู้ใช้เป็นแบบกราฟฟิก โดยจะมีเครื่องมื่อต่าง ๆ ที่ช่วยในการพัฒนาโปรแกรมอย่างรวดเร็ว หรือที่นิยมเรียกว่า RAD (Repid Application Development) ปัจจุบันนี้มีผู้ใช้งานภาษา Visual Basic เป็นจำนวนมาก โดยภาษา Visual Basic ได้รับการออกแบบให้ทำงานบนระบบวินโดว์เวอร์ชั่นต่าง ๆ จากไมโครซอฟต์ เช่น Visual Basic 3 ทำงานบนระบบวินโดว์ 3.11 ส่วน Visual Basic 4 และ 5 ทำงานบนระบบวินโดว์ 95 เป็นต้น
JAVA
ภาษาใหม่ที่มาแรงที่สุดในปัจจุบัน คงจะไม่มีภาษาไหนที่เทียบได้รับภาษาจาวาซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นโดยบริษัทซันไมโครซิสเตมส์ ในปี 1991 โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างผลิตภัณฑ์อิเล็คทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคที่ง่ายต่อการใช้ง่าย มีค่าใช้จ่ายต่ำ ไม่มีข้อผิดพลาด และสามารถใช้กับเครื่องใด ๆ ก็ได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ได้กลายเป็นข้อดีของจาวาที่เหนื่อกว่าภาษาอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นด้วยจาวาสามารถนำไปใช้กับเครื่องต่าง ๆ โดยไม่ต้องทำการคอมไพล์โปรแกรมใหม่ ทำให้ไม่จำกัดอยู่กับเครื่องหรือโอเอสตัวใดตัวหนึ่ง แม้ว่าการใช้งานจาวาในช่วงแรกจะจำกัดอยู่กับ World Wide Web (WWW) และ Internet แต่ในปัจจุบันได้มีการนำจาวาไปประยุกต์ใช้กับงานด้านซอฟต์แวร์ต่าง ๆ อย่างมากมาย ตั้งแต่ซอฟต์แวร์อรรถประโยชน์ (Utility) ไปจนกระทั่งซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ เช่น โปรแกรมชุดจากบริษัท Corel ซึ่งประกอบด้วยโปรแกรมหลัก ๆ คือ โปรแกรมเวิร์โปรเซสซิ่ง สเปรดซีต พรีเซนเตชั่น ที่เขียนขึ้นด้วยจาวาทั้งหมด
จาวายังสามารถนำไปใช้เป็นภาษาสำหรับอุปกรณ์แบบฝังต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์ และอุปกรณ์ขนาดมือถือแบบต่าง ๆ เป็นต้น รวมทั้งยังได้รับความนิยมนำไปใช้กับอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเข้าสู่อินเตอร์เน็ตโดยไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ นอกจากนี้แล้ว จาวายังเป็นภาษาที่ถูกใช้งานในคอมพิวเตอร์แบบเอ็นซี (NC) ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์แบบใหม่ล่าสุด ที่เน้นการทำงานเป็นเครือข่ายว่า แอพเพลต (applet) ที่ต้องการใช้งานขณะนั้นมาจากเครื่องแม่ ทำให้การติดต่อสื่อสารสารผ่านเครือข่ายใช้ช่องทางการสื่อสารน้อยกว่าการดึงมาทั้งโปรแกรมเป็นอย่างมาก

สำหรับข้อดีและข้อเสียของแต่ละภาษาก็มีแตกต่างกันไป  ซึ่งขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งานในแต่ละงาน โดยบางงานไม่จำเป็นต้องใช้ภาษาชั้นสูงมากเพื่อเป็นการประหยัดทรัพยากรณ์คอมพิวเตอร์อีกด้วย

โดยพอจะสรุปได้ดังนี้
ภาษาคอมพิวเตอร์
การใช้งาน
BASIC (Beginner's All-purpose Symbolic Instruction Code)
สำหรับผู้เริ่มศึกษาการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์
COBOL (Common Business Oriented Language)
นิยมใช้ในงานธุรกิจบนเครื่องขนาดใหญ่
FORTRAN (FORmula TRANslator)
ใช้สำหรับงานด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์
Pascal (ชื่อของ Blaise Pascal)
ใช้ในวิทยาลัย และมหาวิทยาลัย
C
สำหรับนักเขียนโปรแกรม และใช้ในวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
C++
สำหรับผู้ผลิตซอฟต์แวร์
ALGOL (ALGOrithmic Language)
เริ่มต้นได้รับการออกแบบให้เป็นภาษาสำหรับงานทางวิทยาศาสตร์ และต่อมามีการพัฒนาต่อเป็นภาษา PL/I และ Pascal
APL (A Programming Language)
ออกแบบโดยบริษัท IBM ในปีค.ศ. 1968 เป็นภาษาที่โต้ตอบกับผู้ใช้ทันที เหมาะสำหรับจัดการกับกลุ่มของข้อมูลที่สัมพันธ์กันในรูปแบบตาราง
LISP (LIST Processing)
ถูกออกแบบมาให้ใช้กับข้อมูลที่ไม่ใช้ตัวเลข ซึ่งอาจเป็นสัญลักษณ์พิเศษหรือตัวอักษรก็ได้ นิยมใช้ในด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artifical Inelligence)
LOGO
นิยมใช้ในโรงเรียน เพื่อสอนทักษะการแก้ปัญหาให้กับนักเรียน
PL/I (Programming Language One)
ถูกออกแบบมาให้ใช้กับงานทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ และธุรกิจ
PROLOG (PROgramming LOGIC)
นิยมใช้มากในงานด้านปัญญาประดิษฐ์ จัดเป็นภาษาธรรมชาติภาษาหนึ่ง
RPG (Report Program Generator)
ถูกออกแบบมาให้ใช้กับงานทางธุรกิจ จะมีคุณสมบัติในการสร้างโปรแกรมสำหรับพิมพ์รายงานที่ยืดหยุ่นมาก

วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ท่านคิดว่าโรงแรม จะมี TPS MIS DSS และ ESS เป็นอย่างไรบ้าง พร้อมระบุประโยชน์ของTPS MIS DSS ESS ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารโรงแรม



ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักกับการจัดองค์กรของกิจการโรงแรม สามารถแบ่งการบริหารงานของส่วนต่าง ๆ ได้ดังนี้
1.คณะกรรมการบริหาร (Board of Director) หมาย ถึงกลุ่มบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกจากผู้ถือหุ้นของกิจการเพื่อเป็นคณะ กรรมการบริหารงานของโรงแรม นอกจากนี้ยังอาจรวมไปถึงตัวแทนของกลุ่มธุรกิจโรงแรม ถ้าโรงแรมเป็นเครือข่ายของกลุ่มธุรกิจโรงแรมนั้น ๆ
                คณะ กรรมการบริหารนี้มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายการบริหารงานของโรงแรมเพื่อให้ การดำเนินงานภายในโรงแรมเป็นไปอย่างคล่องตัวมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งสามารถตรวจสอบผลการปฏิบัติงานและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของแต่ละฝ่ายได้อย่างรวดเร็วทันเวลา ตลอดจนประเมินผลงานของฝ่ายต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.ผู้จัดการทั่วไป (General Manager) หมาย ถึง บุคคลที่ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการบริหาร ให้ดำรงตำแหน่งผู้จัดการทั่วไป บุคคลดังกล่าวอาจเป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริหารหรือเป็นบุคคลภายนอก ที่คณะกรรมการบริหารเชิญมาดำรงตำแหน่งให้เงินเดือนเป็นค่าตอบแทน เนื่องจากมีคุณสมบัติที่เหมาะสม มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ในการบริหารงานด้านโรงแรม
                ผู้ จัดการทั่วไปมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการบริหาร และควบคุมการปฏิบัติงานของทุกฝ่ายภายในโรงแรมให้ดำเนินไปตามเป้าหมายและ นโยบายที่คณะกรรมการบริหารของโรงแรมกำหนดไว้ รวมทั้งเป็นผู้ประสานงานระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ภายในโรงแรมให้สามารถดำเนินงานไปอย่างราบรื่น และสอดคล้องกัน ดังนั้นจึงสามารถสรุปหน้าที่ของผู้จัดการทั่วไปได้ดังนี้
1.กำหนดเป้าหมาย (Targeting) ของโรงแรม
2.วางแผนการดำเนินงาน ( Planning ) ของทุกฝ่าย เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้แล้ว
3.มอบหมายงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างถูกต้อง และเหมาะสม (Assigming)
4.สร้างความเข้าใจ และความสัมพันธ์ที่ดีภายในโรงแรม (Communication)
5.ปรับปรุงการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งประเมินผลการปฏิบัติงานของฝ่ายต่าง ๆ ในโรงแรม (Evaluation & improvement)
6.จัดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคคลากรภายในโรงแรม (Training)

3.ผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไป (Assistant General Management) หมาย ถึงบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการบริหาร โดยอาจเป็นบุคคลในคณะกรรมการบริหาร หรือบุคคลภายนอก ที่คณะกรรมการบริหารเชิญมาดำรงตำแหน่งและให้เงินเดือนเป็นค่าตอบแทน เนื่องจากบุคคลดังกล่าวมีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในการบริหารงานโรงแรมเช่นเดียวกับผู้จัดการทั่วไป
                หน้าที่ของผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไป มีดังนี้
1.ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้จัดการทั่วไป
2.ตรวจสอบผลการปฏิบัติของฝ่ายต่าง ๆ ตลอดจนให้คำปรึกษาแนะนำวิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ในการทำงาน
3.สร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ภายในโรงแรม
4.ให้คำปรึกษาและคำเสนอแนะเพื่อปรับปรุงงานแก่ผู้จัดการทั่วไป
4. ผู้จัดการประจำฝ่ายต่าง ๆ (Resident Manager) หมายถึงบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในฝ่ายนั้น ๆ โดยเฉพาะ จึงได้รับมอบหมายงานของฝ่ายต่าง ๆ เพื่อทำหน้าที่ดังนี้
1.ดูแลและควบคุมการปฏิบัติงานของพนักงานภายในฝ่ายของตนอย่างใกล้ชิด
2.รายงานผลการปฏิบัติของฝ่ายที่ตนรับผิดชอบต่อผู้บังคับบัญชา
3.ประสานงานและให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้จัดการทั่วไป
4.รับผิดชอบในทรัพย์สินของฝ่ายตน
5.ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา
   
การจัดแบ่งแผนกงานต่าง ๆ  ในโรงแรม
แผนกครัว (The Kitchen) 
                ใน โรงแรมขนาดใหญ่ที่มีห้องอาหารหลายห้องและบาร์เครื่องดื่มอยู่หลายจุด มักจะมีตำแหน่งและบุคคลที่มีหน้าที่ ผู้จัดการฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverage Manager) ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบงานทุกแผนกที่เกี่ยวข้องกับด้านอาหารและเครื่องดื่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องทำงานประสานกับหัวหน้าแผนกครัว (Head Chef) อย่างใกล้ชิด
                หน้าที่ งานหลัก ๆ ของผู้จัดการฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม ได้แก่ การสรรหาคัดเลือกและฝึกอบรมพนักงาน วางแผนและควบคุมการจัดซื้อของ ดูแลให้การจัดเตรียมอาหารเป็นไปโดยมีมาตรฐานสูง ตลอดจนกำหนดและควบคุมงบประมาณที่เกี่ยวข้อง

                กุ๊ก (Cook) หรือที่ในต่างประเทศบางครั้งนิยมเรียกว่า Chef นั้นเป็นผู้ปรุงอาหาร 
หน้าที่งานของพนักงานแต่ละตำแหน่งในครัวจะเป็นดังนี้
1.   กุ๊กใหญ่หรือหัวหน้าแผนกครัว (Head Chef or Executive Chef)
2.   รองกุ๊กใหญ่หรือรองหัวหน้าแผนกครัว ( Second Chef or Sous Chef)
3.   หัวหน้าครัวหรือหัวหน้าหน่วยในครัว (Section Chef หรือ Chef de Partie)
4.  กุ๊กหมุนเวียน (Rellet Chef หรือ Chef Toumant)
5.  ผู้ช่วยกุ๊ก (Commia Chef)
6.  กุ๊กฝึกหัด (Apprentice หรือ Trainee Chef)
7.   พนักงานทำความสะอาดในครัว (Kitchen Porter/Kitchen Assistant)

สำหรับในเมืองไทย ตำแหน่งต่าง ๆ ในครัวในแต่ละโรงแรมใช้แตกต่างกัน ทั้งใน
เรื่อง ชื่อของตำแหน่งละจำนวนระดับชั้นของตำแหน่ง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับขนาดของครัวและขนาดของโรงแรมซึ่งแตกต่างกันประการหนึ่ง กับขึ้นอยู่กับเครือข่ายโรงแรม (Hotel chain) ที่ บริหารโรงแรมแต่ละแห่งว่ามาจากสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส หรือฮ่องกง ซึ่งนิยมใช้ไม่เหมือนกันอีกประการหนึ่งด้วยฉะนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าไม่สามารถถือแบบใดแบบหนึ่งเป็นมาตรฐานที่ตายตัวได้
                อย่างไรก็ดี ก็มีระบบการตั้งและเรียกชื่อตำแหน่งแบบกลาง ๆ ที่อาจนำไปประยุกต์ใช้ได้ดังนี้
                Executive                                              กุ๊กใหญ่ (หัวหน้าแผนกครัว)                                    
                Sous Chef                                             รองกุ๊กใหญ่ (ผู้ช่วยหัวหน้าแผนกครัว)
                Chef de Parte                                       หัวหน้าครัว/หัวหน้าหน่วย 
                First Cook                                             กุ๊กมือหนึ่ง
                Cook                                                      กุ๊ก
                Cook Helper                                         ผู้ช่วยกุ๊ก 
                Cleaner Cook                                       พนักงานล้างหม้อ/กระทะ
                Kitchen Cleaner                   พนักงานทำความสะอาด
                Steward                                 พนักงานล้างถ้วย/จาน
                      
แผนกบริการอาหารและเครื่องดื่ม ( Food and Beverage Service)
                พนักงาน แผนกบริการอาหารและเครื่องดื่มจะแตกต่างจากพนักงานแผนกครัวอยู่อย่างหนึ่ง คือ แผนกบริการมีโอกาสติดต่อกับแขกโดยตรงในขณะที่แผนกครัวส่วนใหญ่จะไม่มีโอกาส เลย การบริการหรือวิธีเสิร์ฟมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ารสชาติหรือคุณภาพของ อาหารทีเดียว และมีบางคนถึงกับคิดว่าค่าบริการนั้นสำคัญยิ่งกว่าตัวอาหารเสียอีก แต่ถึงอย่างไร ทั้งสองอย่างก็ต้องดีควบคู่กันไป คืออาหารก็ต้องอร่อย บริการก็ต้องดีด้วย ห้องอาหารนั้นจึงจะเป็นที่พอใจของแขก
                พนักงานที่มีความสุภาพ เป็นกันเอง และหน้าตายิ้มแย้มเป็นนิตย์ ถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่มีค่ามากที่สุดของห้องอาหารทีเดียว

พนักงานเสิร์ฟ (ชาย Waiter/หญิง/Waitress)
                พนักงาน เสิร์ฟที่ดีจำเป็นต้องมีทักษะจำเพาะหรือความชำนาญในงานที่ทำอยู่บ้าง ตัวอย่าง เช่น การตักอาหารให้แขกโดยตักจากชามใหญ่และหนักโดยใช้ช้อนส้อม และการถือจาน 3-4 ใบที่มีอาหารอยู่ด้วยโดยไม่ให้อาหารหก เป็นต้น
                ในกรณีของห้องอาหารเล็ก ๆ ที่มีพนักเสิร์ฟเพียง 2-3 คน งานในความรับผิดชอบของพนักงานเสิร์ฟจะมีขอบข่ายกว้างมาก หน้าที่หลัก ๆ  จะเป็นดังนี้
·ตกแต่งหรือจัดแจงห้องอาหารให้ดูดี และสะดวกสบาย
·จัดวางโต๊ะเก้าอี้ และอุปกรณ์เครื่องใช้บนโต๊ะ
·รับจองโต๊ะจากลูกค้าที่โทรศัพท์เข้ามาสั่งจอง
·ต้อนรับลูกค้า
·รับออเดอร์หรือคำสั่งเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มจากลูกค้า
·นำอาหารและเครื่องดื่มไปเสิร์ฟ
·เก็บโต๊ะเมื่อลูกค้ารับประทานอาหารเสร็จแล้ว
·กล่าวขอบคุณเมื่อแขกจะกลับ หรือส่งแขก
·ทำความสะอาดห้องอาหาร

สำหรับกรณีของห้องอาหารขนาดใหญ่ จะมีเจ้าหน้าที่มาก ดังนั้น หน้าที่ความรับผิดชอบจึงแบ่งกระจายกันออกไปเป็นดังนี้
1.ผู้จัดการห้องอาหาร (Resturant Manager)
ดูแลรับผิดชอบห้องอาหารในทุกเรื่อง วาง/กำหนดมาตรฐานของการบริการ
วางแผนตารางเวลาและการทำงานของพนักงาน ฝึกสอนงานแก่พนักงาน รับจองโต๊ะ ต้อนรับลูกค้า พาลูกค้าไปที่โต๊ะและจัดการกรณีที่ลูกค้าต่อว่า
2.หัวหน้าพนักงานเสิร์ฟ (ชาย Head Waiter/หญิง  Head Waitress หรือ
Maltre d’Hotel หรือที่นิยมเรียกกันว่า Maltre D.)
เป็นตำแหน่งรองจากผู้จัดการห้องอาหาร ถ้าเป็นห้องอาหารขนาดเล็กก็จะเป็นผู้ที่
ดูแลห้องอาหารทั้งหมด ในกรณีที่เป็นห้องอาหาร ถ้าเป็นห้องอาหารขนาดใหญ่ จะมีหัวหน้าหลายคน โดยคนหนึ่งจะดูแล 3-4 Station (เขตบริการ หรือ เขตความรับผิดชอบในห้องอาหารที่พนักงานแต่ละคนจะต้องคอยดูแลให้บริการแก่ลูกค้าที่นั่งโต๊ะ) Station หนึ่งจะมีหลายโต๊ะ  Head Waiter มี หน้าที่ดูแลควบคุมการทำงานของพนักงานเสิร์ฟในเขตความรับผิดชอบของตน ช่วยพาลูกค้าไปนั่งโต๊ะและรับคำสั่งจากลูกค้าที่ต้องการสั่งอาหาร
3.  พนักงานเก็บเงิน หรือ แคชเชียร์ (Cashier)
รับผิดชอบในการออกใบเสร็จและเก็บเงิน แต่คนที่นำใบเสร็จไปให้ลูกค้าได้แก่พนักงานเสิร์ฟ
4.  พนักงานประจำบาร์ขายเหล้า (Barperson,Barman/Barmaid,Bartender)
                พนักงาน ประจำบาร์เหล้าต้องมีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับพวกสุราต่างๆ ซึ่งต้องเรียนรู้ แต่วิธีเรียนรู้ที่ดีที่สุดก็โดยการฝึกปฏิบัติและอาศัยประสบการณ์ เช่น ต้องรู้วิธีรินเบียร์โดยไม่ให้มีฟองมาก วิธีค่อย ๆ รินเหล้าไวน์โดยไม่ให้มีตะกอนไหลลงมาด้วย วิธีผสมเครื่องดื่มประเภทค็อกเทล ตลอดจนถึงการจดจำราคาและจำนวนของเครื่องดื่มต่าง ๆ ที่ลูกค้าสั่งไปดื่ม

แผนกจัดเลี้ยง (The Catering Department)
                แม้ ว่างานของแผนกจัดเลี้ยงจะเป็นเรื่องบริการด้านอาหารและเครื่องดื่มเหมือนกับ แผนกอาหารและเครื่องดื่ม แต่ลักษณะของการทำงานมีส่วนแตกต่างกันอยู่ โดยแผนกอาหารและเครื่องดื่มจะดูแลห้องอาหารซึ่งเป็นการบริการแขกกลุ่มย่อย ๆ ในขณะที่แผนกจัดเลี้ยงจะต้องเตรียมการและบริการคนครั้งละ มาก ๆ จึงจำเป็นต้องให้การทำงานมีความคล่องตัว โรงแรมใหญ่ ๆ โดยเฉพาะประเภทที่มีห้องจัดเลี้ยงขนาดใหญ่และหลายห้อง ส่วนใหญ่จึงมักแยกแผนกจัดเลี้ยงออกเป็นอีกแผนกหนึ่งต่างหากจากแผนกอาหารและ เครื่องดื่ม สำหรับในเมืองไทย งานจัดเลี้ยงของโรงแรมมักจะเป็นหน่วยงานที่ขึ้นอยู่กับแผนกอาหารและเครื่อง ดื่ม แต่การทำงานจะมีอิสระมากหรือน้อยย่อมขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละโรงแรมเป็น สำคัญ

แผนกแม่บ้าน (House-Keeping หรือ Accommodation Service)
                แผนกแม่บ้านรับผิดชอบความสะอาดเรียบร้อยของที่พัก มีลักษณะเป็นงาน หลังฉาก” (Behide the scenes operation) เหมือน กับงานของแผนกครัว และแขกหรือผู้มาใช้บริการจะได้รับผลโดยตรงจากคุณภาพของงานทำนองเดียวกับแผน ครัวเช่นกัน แต่ผู้ทำงานนแผนกนี้ออกจะมีกรรมอยู่สักหน่อย ตรงที่แขกมักจะคิดว่าการที่พักห้องสะอาดทางเดินและบริเวณใช้ร่วมต่าง ๆ ในโรงแรมสะอาด ตลอดจนผ้าปูที่นอน/ปลอก หมอนสะอาดเป็นของธรรมดา คือไม่ค่อยได้สังเกตหรือชมเชย แต่ถ้าเกิดความไม่สะอาดขึ้นมาเมื่อใด แขกจะสังเกตเห็นทันที และจะตำหนิหรือต่อว่า เช่น ห้องพักไม่สะอาด ผ้าปูที่นอนไม่ได้เปลี่ยน หรือห้องน้ำสกปรก เป็นต้น             
 ตำแหน่งงานในแผนกแม่บ้านโดยทั่วไปจะมีดังนี้
1.หัวหน้าแผนกแม่บ้าน (Executive Housekeeper)
2.หัวหน้าแม่บ้าน (Head Housekeeper)
3.แม่บ้านประจำฟลอร์หรือผู้ช่วยแม่บ้าน (Floor Housekeeper หรือ Assistant Housekeeper )
4.พนักงานดูแลห้องพัก (Room Attendant)
5.พนักงานยกของ/ทำความสะอาด (Housekeeper)
6.หัวหน้าห้องผ้า (Linen Room Supervisor)

แผนกต้อนรับ (Reception)
โดยทั่วไปเวลาแขกเข้ามาในโรงแรม มักจะเดินตรงไปติดต่อเคาน์เตอร์แผนกต้อนรับ (Reception desk) ซึ่งจะอยู่ภายในอาคารโรงแรมใกล้ประตูทางเข้านั่นเอง พนักงานต้อนรับเป็นผู้ทำหน้าที่ต้อนรับแขก ตรวจสอบข้อมูลการจองห้องพัก  และขอให้แขกลงทะเบียนแล้วจึงจ่ายห้อง ในกรณีแขกไม่ได้ทำจองมาก่อนแต่มีห้องว่าง ก็จะดำเนินขั้นตอนการทำงานเดียวกับแบบที่จองมาก่อน
ตำแหน่งงานในแผนกต้อนรับโดยทั่วไปจะมีดังนี้
1.ผู้จัดการสำนักงานส่วนหน้า (Front Office Manager)
2.พนักงานต้อนรับ (Reception)
3.พนักงานสัมภาระ (Hall Porter)
4.พนักงานสัมภาระภาคกลางคืน (Night Porter)
5. พนักงานรับโทรศัพท์ (Telephone หรือ Telephone Operator)
6. เจ้าหน้าที่สำรองห้องพัก (Reservations Clerk)
7. พนักงานแคชเชียร์ (Cashier)

 แผนกบริการทั่วไป (Uniformed Service)
                                Uniformed Service หรือที่บางโรงแรมอาจจะเรียกว่า Guest Service นั้น เป็นแผนกงานที่ให้บริการเบ็ดเตล็ดต่างๆ แก่แขก แต่เป็นงานที่ให้บริการเป็นส่วนตัว (Personalized service) แก่แขกมากที่สุดแผนกหนึ่งของโรงแรม ตำแหน่งงานสำคัญ ๆ ในแผนกนี้ ได้แก่  Bell Adtendant ดูแลเรื่องกระเป๋าของแขกโดยขนจากบริเวณล็อบบี้ไปห้องพักและจากห้องพักมายังล็อบบี้ Door Attendant ดูแลเรื่องกระเป๋าของแขกโดยช่วยยกจากรถมาไว้ที่ล็อบบี้และคอยควบคุมการจราจรที่ประตูทางเข้าโรงแรมด้วย  Valet Parking Adtendant มีหน้าที่อำนวยความสะดวกเรื่องการจอดรถของแขก  Transportation Attendant ดูแลเรื่องรถรับส่งแขก  Cocierge มีหน้าที่ช่วยแขกในการจองโต๊ะห้องอาหาร จัดแจงเรื่องรบส่ง/การเดินทาง ซื้อตั๋วดูละคร กีฬา หรือเข้าร่วมงานนิทรรศการต่าง ๆ
แผนกบัญชี (Accouting)
                บริษัท ไหนที่ต้องการเน้นหรือเพิ่มประสิทธิภาพของกิจการ ก็จะให้ความสำคัญต่อการควบคุมด้านบัญชีและการเงิน พนักงานบัญชีจะต้องมีความเข้าใจลักษณะงานต่าง ๆ ของระบบบัญชี (ซึ่งทุกวันนนี้โรงแรมส่วนใหญ่จะใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย) และ ทำความคุ้นเคยกับลักษณะการดำเนินงานของโรงแรมด้วย ตัวอย่างเช่น การควบคุมด้านอาหารและเครื่องดื่ม หรือระบบการเก็บเงินของแผนกต้อนรับส่วนหน้า พนักงานบัญชีที่ดีนั้นไม่ควรจำกัดความสามารถหรือหน้าที่ของตนเพียงแค่การรวบ รวมตัวเลขสถิติทางการเงินเท่านั้น แต่ต้องทำความเข้าใจและตีความได้ว่าตัวเลขแบบใดชี้ว่าเกิดปัญหาอะไรขึ้นตรง ไหน และสามารถเข้าจัดการแก้ไขได้ด้วย ในบางโรงแรม เวลาผู้จัดการใหญ่ไม่อยู่ ผู้จัดการฝ่ายการเงินจะเป็นผู้รักษาการแทน
 แผนกรักษาความปลอดภัย (Security)
                หน้าที่หลัก ๆ ของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะเป็นดังนี้
·       เฝ้า ติดตามหรือคอยระมัดระวังบุคคลที่มีพฤติกรรมน่าสงสัยว่าจะขโมยทรัพย์สินของ โรงแรม หรือทำอันตรายบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับโรงแรม
·       ติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่แผนกอื่นๆเกี่ยวกับเรื่องรักษาความปลอดภัยและทรัพย์สินที่สูญหายไป
·       ดูแลควบคุมเรื่องต่าง ๆ และรักษาความปลอดภัยเมื่อมีการเคลื่อนย้ายเงินสดหรือของมีค่าจำนวนมาก
·       ช่วยจัดการฝึกอบรมเทคนิควิธีการดับเพลิงแก่พนักงาน รวมถึงการจัดให้มีการซ้อมดับเพลิงด้วย

แผนกประชาสัมพันธ์ (Public Relations)
พนักงานโรงแรมที่มีหน้าที่ที่ต้องติดต่อกับแขกถือได้ว่ามีบทบาทในเชิงประชาสัมพันธ์
อยู่ ด้วย แต่ในบางโรงแรมเฉพาะโรงแรมขนาดใหญ่ จะมีเจ้าหน้าที่ซึ่งรับผิดชอบงานด้านนี้โดยตรงเรียกว่า ผู้จัดการแผนกประชาสัมพันธ์ หรือเจ้าหน้าที่แผนกประชาสัมพันธ์ อย่างไรก็ดี บางฝ่ายบริหารก็เอาหน้าที่นี้ไปฝากไว้กับเจ้าหน้าที่ที่ทำงานในหน้าที่อื่น อยู่แล้ว เช่น เลขานุการผู้จัดการใหญ่ เป็นต้น
                หน้าที่หลัก ๆ ของตำแหน่งนี้มีดังนี้
·       ดูแลเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับแขกที่สำคัญ หรือที่นิยมเรียกกันว่า แขก V.I.P  (very important person)
·       ติดต่อและสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับแขกของโรงแรมให้มากที่สุด ให้การต้อนรับอย่างดีและตรวจสอบว่าทุกอย่างเป็นไปตามความปรารถนาของแขก
·       ติดต่อ และรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับสื่อมวลชน โดยให้มีข่าวออกสู่สาธารณชนตลอดเวลา เช่น ข่าวแจกสื่อมวลชน การแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ การเปิดแถลงข่าว เป็นต้น
  
แผนการฝึกอบรม (Personnel and Training)
พนักงานที่ดีเป็นทรัพยากรที่หาค่ามิได้สำหรับหน่วยงานด้านบริการ และการที่จะให้
ได้ พนักงานที่ดีนั้น งานสำคัญอยู่ที่แผนกบุคคลและฝึกอบรม ถ้าเป็นโรงแรมเล็ก ๆ ตัวผู้จัดการโรงแรมจะต้องดูแลเรื่องเหล่านี้ด้วยตนเอง แต่ในกรณีของโรงแรมใหญ่ จะมีเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะมาดูแลเรื่องนี้ โดยทำงานขึ้นตรงต่อผู้จัดการใหญ่
                หน้าที่หลักของผู้จัดการแผนกบุคคลมีดังนี้
·       กำหนดนโยบายด้านบุคคลโดยอิงกฎหมายและธรรมเนียมปฏิบัติที่ดี
·       สรรหาและคัดเลือกบุคคลากร
·       ดูแลเรื่องระเบียบวินัยและการร้องทุกข์ของพนักงาน
·       ดูแลเรื่องการพัฒนาบุคคลากรและการฝึกอบรม
·       ติดต่อสื่อความและปรึกษาหารือกับพนักงานและองค์กรของลูกจ้าง
·       เตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการฝึกอบรม และดำเนินงานฝึกอบรมไปตามที่วางไว้
·       ติดตามประเมินผลงานของพนักงานที่เคยผ่านการฝึกอบรมมาแล้ว

บริการต่าง ๆ สำหรับแขก (Guest Service)
                ใน โรงแรมทั่ว ๆ ไป โดยปกติจะมีบริการซักรีดเสื้อผ้า ซึ่งถือเป็นบริการขั้นพื้นฐานสำหรับแขก แต่บางโรงแรมก็อาจไม่มีแผนกซักรีดของตนเอง ใช้วิธีจ้างร้านซักรีดข้างนอกให้ ทั้งผ้าที่ใช้ในโรงแรมและเสื้อผ้าของแขก นอกจากนี้ บางโรงแรมอาจมีร้านหนังสือ ของที่ระลึก ร้านขายยา ร้านผม ร้านเสริมสวย ศูนย์บริหารร่างกาย บริการให้เช่าตลอดจนถึงมีศูนย์บริหารธุรกิจ เนื่องจากการแข่งขันทางธุรกิจในปัจจุบัน โรงแรมต่าง ๆ ที่จะให้บริการและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆแก่แขกมากขึ้นเรื่อย ๆ

ฝ่ายจัดการ (Management)
                ในธุรกิจโรงแรม คำว่า ฝ่ายจัดการหรือ Management นั้นหมายถึง ผู้บริหารสูงสุดของโรงแรม ได้แก่ ผู้จัดการโรงแรม ( General Manager) หรือผู้จัดการใหญ่ (General Manager) หรือผู้ช่วยผู้จัดการโรงแรม (Assistant Manager หรือ Executive Assistant Manager) หน้าที่ดูแลโรงแรมแทนเมื่อผู้จัดการใหญ่ไม่อยู่ (ส่วนใหญ่คนที่เป็นผู้ช่วยจะพักอาศัยให้ด้วย จึงเป็น Resident Manager หรือ ผู้จัดการประจำสำนักไปด้วยในตัว) นอกจากนี้อาจจะมีผู้จัดการภาคกลางคืน (Night Manager ) ซึ่งดูแลโรงแรมในช่วงกลางคืนด้วย ทั้งนี้เป็น ฝ่ายจัดการของโรงแรม

1. ระบบประมวลผลรายการ (TPS : Transaction Processing Systems) บางครั้งเรียกว่า ระบบประมวลผลข้อมูล (DP : Data Processing Systems) ซึ่งเป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการข้อมูลเบื้องต้นเป็นการประมวลข้อมูลที่เป็นการดำเนินงานประจำวันภายในองค์ การประมวลข้อมูลในยุคก่อนที่จะมีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้นั้น จะเป็นการประมวลผลที่กระทำด้วยมือหรือใช้เครื่องคำนวณช่วย ต่อมามีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการประมวลผลโดยเฉพาะในระบบธุรกิจเพื่อช่วยงานประจำ เช่น การสั่งซื้อสินค้า การจัดระบบสินค้าคงคลัง การทำบัญชีต่าง ๆ การทำใบเสร็จรับเงิน การทำใบแจ้งหนี้ ใบสั่งสินค้า รายการซื้อ รายการขาย ในการทำการประมวลผลรายการก็จะมีการจัดทำเอกสารรายงานต่าง ๆ เป็นประจำ แต่ยังไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นระบบสารสนเทศได้เต็มที่เพราะเอกสารส่วนมากถูกนำไปใช้เกี่ยวกับงานประจำวัน เช่น การบันทึกรายการบัญชี การบันทึกยอดขายประจำวัน การออกใบแจ้งหนี้ เป็นการบันทึกรายการตาง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันซึ่งปฏิบัติงานในลักษณะซ้ำ ๆ ทุกวัน มากกว่าจะใช้เพื่อการบริหาร หรือการจัดการ เพราะรายงานประจำวันนั้น ไม่ระบุสารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการทราบ เช่น ผู้บริหารต้องการทราบว่า ลูกค้าประเภทไหนชอบสินค้าชนิดใด สินค้าใดจะมีแนวโน้มที่จะขายดีมากขึ้นหรือลดลง สินค้าประเภทใดที่เป็นที่นิยมในภาคไหนTPS เป็นขั้นตอนเบื้องต้นในการทำหน้าที่ผลิตสารสนเทศ แล้วส่งไปยังระดับต่อไปตัวอย่างข้อมูลที่เข้ามาในระบบประมวลผลรายการ ได้แก่ ข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า ข้อมูลการขายสินค้า ระบบการจองโรงแรมห้องพัก ระบบการจองตั๋วเครื่องบิน ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลพนักงานลูกจ้าง หรือข้อมูลการส่งสินค้า โดยจะนำข้อมูลเบื้องต้นเหล่านี้เข้ามาเพื่อ ทำการประมวลผลโดยถือว่าระดับ ประมวลผลรายการเป็นระดับล่างสุดซึ่งในระดับนี้จำเป็นต้องมีการจัดการทำงานให้เป็นแบบแผนที่แน่นอนตายตัว เป็นระบบที่เก็บข้อมูลธรรมดา เพื่อนำไปใช้งานในภายหลัง เช่น วันนี้มียอดขายเท่าใด
รายรับรายจ่ายเท่าใด มีเงินหมุนเวียนในระบบเท่าใดหรือในคลังสินค้า สินค้าที่นำออกไปมีปริมาณมากน้อยแค่ไหน ปัจจุบันระบบประมวลรายการมักนิยมใช้กับการประมวลผลแบบออนไลน์ (On - line Processing) นั่นคือข้อมูลต่าง ๆ จะถูกประมวลผลทันทีที่เข้าสู่ระบบ มักนิยมใช้กับงานธุรกิจประจำวัน สรุปคือเป็นกิจกรรมในแต่ละวันนั่นเองโดยระบบประมวลผลรายการเป็น ตัวเชื่อมระหว่างองค์กรกับสิ่งแวดล้อม และเป็นตัวหลักที่เก็บข้อมูลไว้ก่อนที่จะส่งไปยังระดับอื่น ๆ ถ้าระบบนี้ทำงานได้ไม่ดีหรือมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น จะทำให้ข้อมูลขาดประสิทธิภาพ ก็จะเกิดผลกระทบทั้งองค์กร งานที่ได้อาจขาดความสมบูรณ์หรือเกิดความเสียหายได้ทั้งองค์กรเพราะทำให้ขาดความต่อเนื่องของงานหรือได้รับข้อมูลไม่ตรงกับความเป็นจริง งานในระดับอื่น ๆ ก็ผิดพลาดตามไปด้วย สาเหตุหนึ่งของความผิดพลาด อาจเกิดมาจากข้อมูลที่รับเข้ามาไม่สมบูรณ์เพียงพอ หรือสาเหตุเกิดจากภายในระบบประมวลผลรายการเองซึ่งถือได้ว่า ระบบประมวลผลรายการมีความสำคัญสูงสุดสำหรับองค์กรTPS มักจะทำการประมวลผลข้อมูลกับงานเฉพาะส่วนขององค์กร เช่น ฝ่ายรับสมัคร ฝ่ายบัญชี ฝ่ายขาย ฝ่ายผลิต เป็นต้น โดยแต่ละฝ่ายจะมีการรับข้อมูล จัดเก็บข้อมูลไว้ในรูปของแฟ้มข้อมูลและทำการประมวลผลแยกกัน ผู้ใช้ระบบ TPS ได้แก่ เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลพนักงานลงบัญชี พนักงานรับสั่งจอง เป็นต้น
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS : Management Information Systems)
เป็นระบบที่ช่วยในการเตรียมรายงานเพื่อให้ผู้บริหารระดับต่าง ๆ ใช้ในการควบคุมการปฏิบัติงาน ผู้บริหารสามารถใช้สารสนเทศที่ได้จัดการกับปัญหาแบบโครงสร้าง เช่น ใช้ในการวิเคราะห์ความผิดพลาด ความก้าวหน้า หรือข้อบกพร่องในการทำงาน รายงานส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของรายงานสรุป (Summary Report) จากการปฏิบัติงานประจำ เป็นงานที่ได้รับการส่งต่อจากงาน TPS คือ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผลเพื่อกลั่นกรองข้อมูลที่มีอยู่ในระบบให้สามารถใช้ปรโยชน์ได้เพื่อเสนอต่อผู้บริหารในระดับต่อไป คำว่า MIS บางครั้งจะใช้คำว่า IRS (Information Reporting Systems) หรือ MRS (Management Reporting Systems) แทนความแตกต่างระหว่าง ระบบสารสนเทศเพื่อ การจัดการ (MIS)
และ ระบบประมวลผลรายการ (TPS) มีหลายประการ TPS ใช้แฟ้มข้อมูลแยกกันเนื่องจากการทำงานแยกกันในแต่ละฝ่าย เช่น ทำหน้าที่ เกี่ยวกับการรับใบสั่งสินค้าจากลูกค้า ประมวลรายการสินค้า บันทึกรายการขาย ดูแลการส่งสินค้า ควบคุมคลังสินค้า และการบัญชีMIS จะใช้ฐานข้อมูลร่วมกันและมีการรวบรวมข้อมูลจากหลาย ๆ ฝ่ายทำให้ MIS มีความยืดหยุ่นในการสร้างสารสนเทศให้กับ ผู้บริหารตามความต้องการ สารสนเทศที่ได้จะเกี่ยวข้องกับการสรุปผลการดำเนินงานที่ได้จาก TPS จะมีการพิมพ์รายงานสรุปว่าสินค้าอะไรบ้างที่ขายช้าหรือขายเร็วและส่วนของคลังสินค้าก็จะรู้ว่า ต้องสั่งสินค้าอะไรเพิ่มเข้ามาใหม่ ดังนั้น MIS เป็นการสร้างสารสนเทศที่จำเป็นต่อการจัดการในงานต่าง ๆ มีการวางแผนขั้นแรกในระดับการควบคุม และตัดสินใจของผู้บริหารในงานทั่ว ๆ ไป โดยจะใช้สารสนเทศที่ได้จาก TPS บุคลากรที่เกี่ยวข้องในการเชื่อมต่อระบบ MIS ก็คือผู้บริหาร ผู้บริหารจะคอยรับทราบและทำความเข้าใจถึงภาพรวมและแนวโน้มว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับบริษัท สถานะการเงินเป็นอย่างไร สภาพตลาดเป็นอย่างไรมีกำลังการผลิตมากน้อยเพียงใดรวมถึงผลกระทบหรือปัญหาที่เกิดขึ้นตลอดจนโอกาสต่าง ๆ ทางธุรกิจมีแนวโน้มเป็นอย่างไรจากนั้นจึงนำสิ่งที่ได้รับจากการรายงานข้างต้นมาพิจารณาวางแผนและดำเนินการต่อไปMIS จะอยู่ในระดับกลางขององค์กร คือ เป็นระดับของการจัดการ ทั้งทางด้านการจัดการขาย การควบคุมกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ของระดับปฏิบัติงาน เช่น นำข้อมูลของวันนี้มาเปรียบเทียบกับข้อมูลของเดือนที่ผ่านมาหรือย้อนหลัง 3 เดือน แล้วนำมาสรุปในอยู่ในรูปของกราฟหรือรายงาน นอกจากนี้ผู้บริหารยังใช้สารสนเทศที่ได้จาก TPS มาวิเคราะห์กาความผิดพลาดหรือหาความก้าวหน้าในการทำงาน โดยอาจใช้ข้อมูลทางสถิติเปรียบเทียบผลที่ได้จากการปกิบัติจริงกับค่าประมาณ ที่วางแผนไว้ แล้วจึงส่งต่อไปยังผู้บริหารระดับสูง เพื่อผู้บริหารระดับสูงจะได้นำสารสนเทศที่ได้ไปใช้ในการกำหนดนโยบาย หรือวงแผนระบบงานต่อไป
3. ระบบสนับสนุนการตัดสิน (DSS : Decision Support Systems) เป็นระบบที่เป็นการทำงานแบบกึ่งโครงสร้าง มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกในการจัดรูปแบบข้อมูลการนำมาใช้และการรายงานข้อมูลเพื่อที่จะใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ ของผู้บริหารระดับต่าง ๆ ในระดับนี้จำเป็นต้องอาศัยสารสนเทศจาก TPS และ MIS แบบสรุปมาใช้ประกอบการตัดสินใจ DSS แตกต่างจากระบบอื่น ๆ คือ เป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นต่อการตัดสินใจ และมีการตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อสถานการณ์ต่าง ๆ เป็นระบบที่สนับสนุนความต้องการเฉพาะของผู้บริหารแต่ละคนข้อแตกต่างระหว่าง DSS กับ MIS มีดังนี้
MIS สามารถให้สารสนเทศได้เฉพาะสารสนเทศที่มีอยู่แล้ว ไม่สามารถจัดสารสนเทศใหม่ทันทีทันใด MIS ใช้กับปัญหาแบบมีโครงสร้าง เช่น ในระบบสินค้าคงคลังเมื่อไรจึงจะสั่งวัตถุเพิ่ม และต้องสั่งเท่าไร ซึ่งเป็นลักษณะของปัญหาที่เกิดประจำในระดับปฏิบัติการ การตัดสินในจะขึ้นอยู่กับความต้องการในการผลิต ราคาต้นทุนวัตถุดิบและตัวแปรอื่น ๆ ที่ต้องใช้ในระบบสินค้าคงคลัง
DSS ได้ถูกออกแบบเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง ปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างซึ่งเป็นปัญหาที่ส่วนเป็นแบบมีโครงสร้าง และส่วนหนึ่งเป็นแบบไม่มีโครงสร้าง เช่น ความต้องการปรับปรุงคุณภาพการส่งสินค้าของพ่อค้า ปัญหาแบบมีโครงสร้างได้แก่ การเปรียบเทียบสารสนเทศในการส่งของอย่างตรงเวลาของพ่อค้า
ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งสามารถได้ข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลของ MIS และปัญหาแบบไม่มีโครงสร้างได้แก่ สถานการณ์ที่ทำให้ไม่สามารถส่งสินค้าได้ เกี่ยวกับนโยบายการสั่งซื้อสินค้า ราคาสินค้า
และอื่น ๆ ปัญหาดังกล่าวต้องใช้ DSS ช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจ นอกจากนี้ DSS จะอยู่ในรูปแบบที่ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับผู้บริหารแต่ละคน เป็นระบบที่ถูกแบบขึ้นมาเพื่อช่วยผู้บริหารใน
การตัดสินใจ ภายใต้ผลสรุป และเปรียบเทียบข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกแหล่งข้อมูลภายในเป็นข้อมูลที่ไมาจากฐานข้อมูลภายในองค์กร เช่น การขาย การผลิต ฐานะทางการเงิน
ขององค์กร แหล่งข้อมูลภายนอก ได้แก่ กระแสการเงิน กระแสการลงทุนในตลาดหุ้น ภาวะเศรษฐกิจ ข้อมูลของบริษัทคู่แข่ง DSS มักจะใช้ภาษาสืบค้น (Query Language)
ใช้การวิเคราะห์ทางสถิติ ใช้ภาพกราฟิก เพื่อให้ผู้บริหารได้รับสารสนเทศที่ต้องการจริง ๆ ช่วยในการตัดสินใจ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยผู้บริหารสร้างตัวแบบ (Model)ของตัวแปรต่าง ๆ ที่จะมีผลกระทบต่อการตัดสินใจ ซึ่งตัวแบบนี้ถ้าเปลี่ยน ตัวแปร 1 ตัวหรือมากกว่า จะทำให้ผลกระทบเปลี่ยนไปโดยตัวแบบจะรวมเอาแฟคเตอร์ (Factor) ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาเปรียบเทียบ ผลที่เกิดขึ้นเพื่อให้ผู้บริหารทำการตัดสินใจ ตัวแบบที่สร้างขึ้นง่ายต่อการใช้ การดึงข้อมูลและการทำรายงาน ผู้บริหารสามารถสร้างสารสนเทศที่คิดว่ามีประโยชน์เพื่อช่วยในการตัดสินใจได้เป็นอย่างดี
DSS เป็นระบบสารสนเทศแบบโต้ตอบได้ ช่วยในการตัดสินใจของคน ช่วยในการวิเคราะห์งานได้ดีโดยช่วยให้คนรู้จักข้อมูลและรู้จักใช้ตัวแบบ (Model) ของคอมพิวเตอร์ในการแก้ปัญหา ช่วยผู้บริหารในการทดสอบทางเลือกเพื่อตัดสินใจ ทำให้ทราบว่าการเลือกทางเลือกนั้นจะเกิดอะไรขึ้น ีการนำสารสนเทศที่เตรียมได้จากระดับล่างขององค์กรและสารสนเทศภายนอก มาช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อให้ได้ผลใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด สามารถทำนายแนวโน้มของตลาดได้ ทำให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลักษณะการตัดสินในระดับนี้ จะค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อนมากกว่าการตัดสินใจในระดับล่าง
คือ ระบบสนับสนุนผู้บริหารระดับสูง ถูกออกแบบมาช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงซึ่งใช้ในการวางแผนกลยุทธหรือแผนการดำเนินงานระยะยาวขององค์กร ระบบ ESS มีโครงสร้างที่เหมาะสมกับปัญหาแบบไม่มีโครงสร้างจึงต้องเน้นที่ความอ่อนตัวในการทำงานและสนับสนุนการสื่อสารมากกว่าที่จะสร้างโปรแกรมประยุกต์ที่ออกแบบมาให้ทำงานเฉพาะด้านเหมือนในระบบ MIS เท่านั้น ระบบ ESS ใช้ข้อมูลทั้งจากภายนอกองค์กร เช่นตารางการประกาศใช้กฎหมายใหม่ กำหนดการชำระภาษี หรือข้อความโฆษณาจากบริษัทคู่แข่ง และข้อมูลภายในองค์กร โดยข้อมูลที่ได้นั้นจะถูกกลั่นกรองข้อมูลและนำเสนอเฉพาะส่วนที่มีความสำคัญต่อผู้บริหารระดับสูงซึ่งจะเน้นการใช้เทคโนโลยีชั้นสูงที่ช่วยให้การนำเสนอมีความสะดวกและง่ายแก่การรับรู้มากที่สุดเช่น การใช้รูปภาพกราฟิก