วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

เข้าไปที่ http://m-culture.in.th/ แล้วทดลอง ลงทะเบียนใช้งาน แล้วหลังจากนั้น ให้วิจารณ์ระบบดังกล่าว โดยเขียนในลงบทความของท่าน

            ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม เป็นเว็ปไซต์ชุมชนสำหรับรวบรวมข้อมูลทางวัฒนธรรมของชาติ ประกอบด้วยข้อมูลของบุคคลหรือองค์กรทางวัฒนธรรม เช่น ปราชญ์ชาวบ้าน บุคคลสำคัญทางศาสนา เป็นต้น สิ่งประดิษฐ์ทางวัฒนธรรม รวมถึง โบราณวัตถุ หนังสือ งานศิลปะ เครื่องแต่งกาย วิถีชีวิต ภูมิปัญญา ตลอดจนสถานที่ทางวัฒนธรรม และแหล่งท่องเที่ยว ภาพถ่าย วีดิทัศน์ และภาพแอนิเมชั่นประกอบข้อความ ตลอดจนประสบการณ์และความคิดเห็นที่นำเสนอในเว็บไซต์นี้ รวบรวมและแบ่งปันโดยสมาชิก และกลั่นกรองข้อมูลอีกชั้นหนึ่งโดยวัฒนธรรมจังหวัด กระทรวงวัฒนธรรม


วิจารณ์ระบบของศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม
             การรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมซึ่งมีอยู่มากมาย และกระจัดกระจายให้เป็นระบบ โดยร่วมมือกับสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาในแต่ละท้องถิ่น ส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยเข้ามามีส่วนร่วมในการวิจัย และพัฒนาองค์ความรู้เรื่องศิลปวัฒนธรรมของไทย รวมทั้งในมหาวิทยาลัยที่มีการเปิดการเรียนการสอนด้านภาพยนตร์ หรือด้านศิลปะ กระทรวงวัฒนธรรมก็จะส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยมีบทบาทในการสืบค้นภูมิปัญญา รวมทั้งวรรณกรรมริมแม่น้ำโขงของสองฝั่งทั้งไทยและลาว 
           การสร้างความตระหนัก การเห็นคุณค่าของสิ่งที่เป็นวัฒนธรรมไทย ซึ่งต้องมีพื้นที่สำหรับทุกภาคส่วนที่เข้ามาใช้ ขณะนี้เรามีพื้นที่ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และโรงละครแห่งชาติ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคยังมีลานวัฒนธรรมที่เป็นพื้นที่ในชุมชนเอง ส่งเสริมการนำคุณค่าทางวัฒนธรรมมาสร้างความตระหนัก และรับรู้ ให้เกิดความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น
           การส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมไทยแก่เด็กและเยาวชน  ถือว่าคนรุ่นใหม่มีบทบาทสำคัญ และกระแสโลกาภิวัตน์กำลังทำให้เด็กรุ่นใหม่เปลี่ยนแปลงทัศนคติไปนิยมชมชอบต่างประเทศมากขึ้น พยายามที่ให้งานศิลปวัฒนธรรมเป็นงานที่เข้าถึงวัยรุ่นได้ง่าย นอกจากนั้นก็จะเปิดพื้นที่อย่างเช่นลานบุญลานปัญญา หรือ โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนสาระสำคัญของการดำเนินการคือการเปิดพื้นที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วม และนำกิจกรรมที่เป็น
           สาระทางด้านศิลปวัฒนธรรมมาแสดงหรือมาแลกเปลี่ยนกันเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าของสิ่งเหล่านี้ ซึ่งจะมีความรู้สึกว่าอัตลักษณ์เหล่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเรา ฉะนั้นการส่งเสริมเหล่านี้ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์ เราเข้าใจถึงการรับรู้ของเด็กผ่าน Social Nectwork ค่อนข้างง่ายและไปได้รวดเร็ว ฉะนั้นเราจะต้องเพิ่มเนื้อหาเหล่านี้ให้สอดคล้องกับรสนิยมของเด็กแต่ละวัย ซึ่งเราจะต้องค่อย ๆ ทำเรื่องนี้ และสำคัญที่สุดคงไม่ใช่การทำของเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐ แต่อยากให้มีส่วนร่วมจากภาคประชาสังคมตั้งแต่ตัวผู้ปกครอง เด็ก และสถานศึกษา รวมทั้งศาสนสถานด้วยที่จะต้องมีส่วนกลับมาฟื้นฟูวัฒนธรรม และวิถีชีวิตแบบไทยในสังคมไทยให้ยั่งยืนต่อไ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น