วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

บทความกรณีศึกษาที่น่าสนใจเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ, โครงการด้านระบบสารสนเทศที่อาจจะสนองพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ และโครงการที่ตอบสนองนโยบายรัฐบาล ด้านระบบสารสนเทศ

บทความกรณีศึกษาที่น่าสนใจเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ
            
ถาม จากข้อมูลของทั้ง องค์การ ท่านสนใจองค์การใดมากที่สุด เพราะอะไร คิดว่าจะพัฒนาระบบอะไรเพิ่มเติม พร้อมในเหตุผล


ตอบ : การดำเนินธุรกิจโดยแรงผลักดันของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information
Technology) ที่เรียกว่า IT ซึ่งเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคม
ผู้บริหารองค์การจึงจำเป็นต้องเข้าใจและสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิด
ประโยชน์สูงสุดแก่องค์การเพื่อให้องค์การมีความได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งเป็นการดำเนิน
งานเชิงรุก เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีประกอบด้วยระบบจัดเก็บและประมวล
ข้อมูลระบบสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้การจัดการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
          1) ระบบจัดเก็บและประมวลข้อมูล เนื่องจากความซับซ้อนของการประกอบธุรกิจทำให้
องค์การมีข้อมูลหลากหลายประเภทเป็นจำนวนมาก การจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลด้วยมือ
จึงไม่เป็นการสะดวกและอาจก่อให้เกิดความผิดพลาดได้ การใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนในการ
จัดเก็บและประมวลผลทำให้การทำงานมีความรวดเร็วและถูกต้องยิ่งขึ้น
          2) ระบบสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้การสื่อสารในองค์การและการนำข้อมูลไปใช้ในการ
ตัดสินใจถูกต้อง ปัจจัยสำคัญ คือ ระบบการสื่อสารด้วยคอมพิวเตอร์ และอุปรกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
          3) การจัดการข้อมูล เป็นการจัดการรูปแบบ และระบบการใช้งานของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
----------------------------------------------------------------------------------------------------
ถาม โครงการด้านระบบสารสนเทศที่อาจจะสนองพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ

ตอบ : ห้องสมุดประชาชน คือ แหล่งรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภท ทั้งที่เป็นวัสดุตีพิมพ์ วัสดุไม่ตีพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีการคัดเลือกและจัดหาเข้ามาอย่างทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของผู้ใช้ มีบรรณารักษ์เป็นผู้ดำเนินงานและจัดบริการต่างๆอย่างเป็นระบบ
           ดังนั้นระบบสารสนเทศของห้องสมุดประชาชนจะต้องส่งเสริมการหาความรู้ในด้านต่างๆดังนี้
          1. เพื่อการศึกษา ห้องสมุดทุกแห่งจะรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศที่ให้ความรู้ เพื่อบริการแก่ผู้ใช้ในการแสวงหาความรู้ ค้นคว้าด้วยตนเองได้ตามต้องการ
          2. เพื่อความรู้ข่าวสาร ห้องสมุดจัดหาทรัพยากรสารสนเทศใหม่ๆ ที่ทันสมัย เพื่อให้ผู้ใช้ติดตามข่าวความเคลื่อนไหวและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทำให้ผู้ใช้มีความรู้ใหม่ๆและทันสมัยเสมอ
          3. เพื่อการค้นคว้าวิจัย เป็นแหล่งสะสมทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ ที่ใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาค้นคว้าวิจัย ซึ่งเป็นการแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ เพื่อความเจริญก้าวหน้าในสาขาวิชาต่างๆ
          4. เพื่อความจรรโลงใจ ทรัพยากรสารสนเทศบางประเภททำให้ผู้ใช้มีความซาบซึ้งประทับใจที่ได้รับจากการอ่าน ช่วยให้เกิดแรงบันดาลใจในทางสร้างสรรค์แต่สิ่งที่ดีงาม และเป็นประโยชน์ต่อสังคม
          5. เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจหรือนันทนาการ ห้องสมุดจะมีทรัพยากรสารสนเทศที่ให้ความสนุก บันเทิงใจไว้บริการ เช่น นิตยสาร นวนิยาย เรื่องสั้น ฯลฯ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจด้วยการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ช่วยให้ได้รับความเพลิดเพลิน
--------------------------------------------------------------------------------------------------------
ถาม โครงการที่ตอบสนองนโยบายรัฐบาล ด้านระบบสารสนเทศ เพื่อทำให้เกิดความหลากหลายความคิดในการพัฒนาดังนั้น ท่านคิดว่าการพัฒนาระบบสารสนเทศดังกล่าว ควรจะต้องมีระบบ e-service, web-service, front and back office หรือไม่อย่างไร และหากมีควรจะมีอะไรบ้างพร้อมระบุเหตุผลประกอบเพื่อจะได้นำไปปฏิบัติได้จริง
ตอบ : เพื่อให้สอดรับกับมติคณะรัฐมนตรี นโยบายของรัฐบาลด้านการวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม (การใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ) และโครงการของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ข้างต้น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ควรจะพิจารณาดำเนินโครงการพร้อมกำหนดหน่วยงานผู้รับผิดชอบในการดังกล่าวดังนี้
          ปัจจุบันเป็นยุคแห่งสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ คนในสังคมจะต้องมีความสามารถในการเข้าถึงความรู้และเทคโนโลยี รู้จักเลือกใช้ความรู้ และสามารถวิจัย ปรับปรุงดัดแปลง สร้าง และต่อยอดความรู้และเทคโนโลยีที่มีอยู่เพื่อสร้างนวัตกรรมใช้เป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาการเกษตรให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของสังคม การจัดการความรู้นั้นต้องมีการรวบรวม จัดระบบ จัดเก็บและการเข้าถึงข้อมูล เพื่อสร้างเป็นความรู้ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการแบ่งปันความรู้และผู้ทรงความรู้ในการตีความประยุกต์ความรู้ในการสร้างนวัตกรรม
        จากแนวคิดดังกล่าวจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันยังขาดหน่วยงานหรือองค์กรที่เป็นศูนย์กลางในการจัดการความรู้ทางการเกษตร  เพื่อที่ทำหน้าที่ในการจัดการความรู้ทางการเกษตรเพื่อการพัฒนาการเกษตรขึ้น โดยทำหน้าที่เป็นผู้จัดการความรู้ทางการเกษตร ทั้งในการเสาะแสวงหาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ มาประยุกต์ให้ง่ายต่อการนำไปใช้จริง การถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมในรูปแบบต่าง ๆ ตลอดจนให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมแก่กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เกษตกร นิสิตนักศึกษา นักวิชาการและบุคคลที่สนใจทั่วไป
วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง
       1) จัดการข้อมูลสารสนเทศทางการเกษตรจากแหล่งต่าง ๆ ให้เป็นระบบ เข้าถึงง่ายและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
       2) ถ่ายทอดความรู้ทางการเกษตรกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้นำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพพื้นที่จริง
       3) เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
       4) เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ และเพื่อให้เกิดความคิดในการพัฒนาทางการเกษตรของกลุ่มเป้าหมายและผู้สนใจทั่วไป
       5) สร้างองค์ความรู้ ในด้านต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนา
ผลที่คาดว่าจะได้รับการการจัดตั้ง
       1) ข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีที่เหมาะสมทางการเกษตรที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในสภาพพื้นที่
       2) สื่อที่ใช้ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตทางการเกษตร
       3) หลักสูตรฝึกอบรมความรู้ในการผลิตทางการเกษตร
       4) เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์รวมทั้งความคิดในการพัฒนาทางการเกษตรของเกษตรกร นิสิตนักศึกษา นักวิชาการและผู้สนใจทั่วไป
       5) เกษตรกร เจ้าหน้าที่ ผู้สนใจและคณาจารย์ ได้เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น