วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

The Impact of Electronic Commerce Environment on User Behavior ผลกระทบของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่อสภาพแวดล้อมเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้ใช้


The Impact of Electronic  Commerce Environment on  User Behavior
ผลกระทบของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่อสภาพแวดล้อมเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้ใช้
สารพิษจากขยะไอที ขยะอิเล็กทรอนิกส์ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากสังคมเทคโนโลยี



          ในยุคที่เทคโนโลยีต่างๆ  เจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว สิ่งหนึ่งซึ่งมวลมนุษยชาติมิอาจมองข้ามไปได้คือขยะที่เกิดจากเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เพราะขยะดังกล่าวไม่อาจสูญสลายไปตามธรรมชาติได้ และถูกจัดว่าเป็น ขยะพิษซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากสารอันตรายที่ปนเปื้อนมากับของเสีย  ปัจจุบัน องค์กรอนุรักษ์ในต่างประเทศ กำลังให้ความสำคัญกับกระบวนการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์กันมาก โดยพยายามล็อบบี้รัฐบาล และผู้ผลิตในอุตสาหกรรม ให้ออกมาชี้ให้เห็นถึงพิษภัยของขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-waste ที่เป็นอุปกรณ์ที่ทิ้งแล้วจำพวกอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าประกอบด้วย พีซี, จอมอนิเตอร์ และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์อื่นๆ จะมีส่วนผสมของโลหะมีพิษชนิดต่างๆ อยู่ในตัว อาทิ สารตะกั่ว, สารปรอท และแคดเมียม รวมทั้งสารเคมีอีกสารพัดชนิด และจะกลายเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างรุนแรงทันที หากมีโอกาสเข้าไปปะปนอยู่ในสิ่งแวดล้อม  ซึ่งเป็นอันตรายจากการนำขยะเหล่านี้มาทิ้งบนพื้นดิน, อันตรายจากสารพิษ ที่ได้จากการเผา หรือแม้แต่อันตรายจากการนำพีซีมาแยกชิ้นส่วน ด้วยวิธีการที่ไม่ถูกต้อง  หรือแม้กระทั่ง เทคโนโลยีที่ล้าสมัยเร็วขึ้น ล้วนเป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์พอกพูนอย่างไม่รู้จบ รวมทั้งพฤติกรรมของผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่เห็นว่าการซื้อเครื่องใหม่จะถูกกว่าและง่ายกว่าการปรับแก้เครื่องเดิม เช่น การซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ๆ เมื่อมีรุ่นใหม่ออกจำหน่าย ที่มีความจุและความเร็วมากกว่า สามารถใช้กับโปรแกรมที่ทันสมัยได้ เป็นต้น  ซึ่งเกิดปัญหาของเสียคอมพิวเตอร์ (Computer Waste) ขึ้นอย่างมากในปัจจุบันนี้
อันตรายจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ คือ การทำให้สารโลหะหนักแพร่กระจายเข้าสู่สิ่งแวดล้อม เพราะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่จะมีพวกโลหะหนักพวกแคดเมียม หรือโครเมียม เป็นส่วนประกอบ เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า โลหะหนักพวกนี้สลายตัวได้ยาก หากเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ทางห่วงโซ่อาหารจะกระทบต่อระบบเยื่อสมอง หากเป็นสารปรอทจะไปทำลายการทำงานของไต รวมถึงการกระจายของโลหะหนักในแม่น้ำ
ทั่วโลกตื่นตัวการรับมือขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งทำให้คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ฝ่ายสภาวะแวดล้อม ซึ่งรับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อม ได้จัดทำร่างกฎระเบียบเกี่ยวกับเศษเหลือทิ้งของผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจัดทำเพื่อป้องกันเศษเหลือทิ้งของผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่จะมีผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อม และให้มีการนำเศษเหลือทิ้งของผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่หมดอายุการใช้งานแล้ว (End of Life) นํากลับมาใช้ใหม่ (Re-use and Recycle) เพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบจากปริมาณขยะที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม
สิ่งที่ประเทศไทยได้ทำคือการจัดทำกรอบระเบียบเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ครั้งแรกของไทย พร้อมทั้งเป็นกรอบที่รองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากระเบียบของสหภาพยุโรปด้วยเช่นกัน ทั้งนี้กรอบระเบียบที่กำหนดไว้นั้นประกอบด้วย แนวทางการควบคุมที่ต้นทาง โดยการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ภาษี จากผู้นำเข้าสินค้าและผู้ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ แล้วนำเงินไปบริหารจัดการ โดยจะมีการออกฎหมายเก็บค่าธรรมเนียม การตั้งกองทุนสิ่งแวดล้อม การจัดการซากอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างทาง โดยจะไม่มีกฎหมายบังคับ แต่จะใช้มาตรการทางด้านกลไกตลาด และแนวทางสุดท้ายเป็นการควบคุมที่ปลายทางจะสนับสนุนให้เกิดโรงแยกขยะแบบครบวงจร
สำหรับระเบียบว่าด้วยการจำกัดการใช้สารอันตรายบางชนิดในผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Restrictions on Harzardous Substances : RoHS) เป็นมาตรการจำกัดใช้สารอันตรายบางชนิด ที่ใช้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่จะเข้าไปจำหน่ายในตลาด EU หลังกรกฎาคม ปี 2549 เนื่องจากสารอันตรายเหล่านี้ ล้วนมีผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หากแพร่กระจายลงสู่ดิน หรือแหล่งน้ำธรรมชาติ อีกทั้งการกำจัด ก็มีใช้ค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้น ผู้ผลิตต้องลดการใช้ให้อยู่ในปริมาณจำกัด หรืองดใช้สารอันตราย 6 ชนิด ดังนี้
1. ตะกั่ว (Lead)
   เป็นโลหะที่ใช้ในอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์มานาน ใช้ฉาบจอแก้ว
2. หลอดรังสีแคโทด (Cathode Ray Tube : CRT)
                     หลอดภาพเครื่องรับโทรทัศน์ และจอมอนิเตอร์คอมพิวเตอร์ ยังใช้บัดกรีส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ บนแผงวงจรไฟฟ้า
3 . แคดเมี่ยม (Cadmium)
     พบในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วัสดุกึ่งตัวนำ (Semiconductors) อุปกรณ์ตรวจจับอินฟราเรด (Infrared Detectors) หลอดภาพรุ่นเก่า เป็นต้น
4. ปรอท (Mercury)   
    ถูกใช้กว้างขวางในชิ้นส่วนไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น เทอร์โมสตัด (Thermostat) รีเลย์ แบตเตอรี่ สวิทซ์ขนาดเล็กบนแผงวงจรอุปกรณ์ตรวจวัด (Measuring Equipment)
5. โพลี-โบรมิเนท-ไบเฟนิล (Poly Brominated Biphenyls : PBB)
      นิยมใช้ในอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ใช้เป็นสารทนไฟ (Flame-Retardants)
6. โพลี-โบรมิเนท-ไดเฟนิล-อีเทอร์ (Poly Brominated Diphenyl Ethers : PBDE)

                แต่ละชนิดก่อให้เกิดอันตราย ดังนี้
1. ตะกั่ว (Lead)
 พิษของตะกั่วจะทำลายระบบประสาท ต่อมไร้ท่อ ไต ระบบเลือด และการพัฒนาสมองของเด็ก พิษเรื้อรังของตะกั่วจะค่อยๆ แสดงอาการออกมา ภายหลังจากได้รับสารตะกั่วทีละน้อยเข้าสู่ของเหลวในร่างกาย และค่อยๆ สะสมในร่างกาย จนถึงระยะเวลาหนึ่งอาจนานเป็นปี จึงแสดงอาการ ส่วนมากเกิดกับบุคคลที่มีอาชีพที่สัมผัสกับตะกั่ว
      2. ปรอท(Mercury)
ปรอทเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะไปทำอันตรายต่อระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งได้แก่ สมอง และไขสันหลัง ทำให้เสียการควบคุมเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของแขน ขา การพูด และยังทำให้ระบบประสาทรับความรู้สึกเสียไป เช่น การได้ยิน การมองเห็น ซึ่งอันตรายเหล่านี้เมื่อเป็นแล้วไม่สามารถรักษาให้กลับดีดังเดิมได
       3.  คลอรีน (Chlorine)
 คลอรีนปรากฎอยู่ในพลาสติกพีวีซี ซึ่งก่อให้เกิดสารก่อมะเร็งไดออกซินเมื่อพลาสติกถูกเผา สารเคมีชนิดนี้มีผลต่อระบบหายใจ ระคายจมูก และทำให้เคลือบฟันผุ
       4. แคดเมียม (Cadmium)
แคดเมียมมีพิษอย่างเฉียบพลัน ทางเดินหายใจทำให้เกิดปอดอักเสบรุนแรง ไตวาย ไตถูกทำลายมีโปรตีนในปัสสาวะ ร่างกายขับกรดอะมิโน กลูโคส แคลเซียม และฟอสเฟตในปัสสาวะมากขึ้น ทำให้เกิดเป็นนิ่วในปัสสาวะได้ โรคปวดกระดูก โรคอิไต-อิไต ปวดสะโพก (Hip pain) ปวดแขน ขา (extremity pain) มีวงแหวนแคดเมียม (yellow ring) ปวดกระดูก (Bone pain) ปวดข้อ (joint pain) มีความผิดปกติที่กระดูกสันหลัง ทำให้มีลักษณะเตี้ย หลังค่อม
         5. โบรมีน(Bromine)
โบรมีนเป็นสารก่อมะเร็ง และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี และรูปทรงของเส้นใยกล้ามเนื้อหัวใจ สารประกอบโบรมีนใช้เป็นตัวหน่วงการลุกติดไฟ (Brominated Flame Retardants, BFRs) ของตัวตู้คอมพิวเตอร์และแผงวงจร หมึกพิมพ์เป็นสารก่อมะเร็ง และสารประกอบฟอสเฟตที่ใช้เคลือบภายในหลอดภาพ CRT มีความเป็นพิษสูงเพราะมีส่วนผสมของแคดเมียม สังกะสี และวานาเดียม เป็นต้น

การจัดการของเสียอิเล็กทรอนิกส์
                ปัจจุบัน องค์กรอนุรักษ์ในต่างประเทศ กำลังให้ความสำคัญกับกระบวนการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์กันมาก โดยพยายามล็อบบี้รัฐบาล และผู้ผลิตในอุตสาหกรรม ให้ออกมาชี้ให้เห็นถึงอันตรายจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อี-เวสท์ (e-waste) ให้สาธารณชนเห็นอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นอันตรายจากการนำขยะเหล่านี้มาทิ้งบนพื้นดิน, อันตรายจากสารพิษ ที่ได้จากการเผา หรือแม้แต่อันตรายจากการนำพีซีมาแยกชิ้นส่วน ด้วยวิธีการที่ไม่ถูกต้อง
หน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในสหรัฐอเมริกา ประเมินว่า ผู้บริโภคชาวอเมริกันสร้างขยะอิเล็กทรอนิกส์มากเกือบ 2 ล้านตัน ในปี 2548 ขณะที่การ์ทเนอร์ บริษัทวิจัยในอุตสาหกรรมไอทีประเมินว่าคอมพิวเตอร์ราว 133,000 เครื่องถูกทิ้งทั้งจากบ้านอยู่อาศัยและภาคธุรกิจในแต่ละวัน ที่สำคัญมีเพียง 10-15% ของขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดที่ถูกนำไปรีไซเคิลเพื่อนำกลับไปใช้ใหม่ โดย 80% ของการรีไซเคิลส่งออกไปยังต่างประเทศเพื่อเข้าร้านแยกชิ้นส่วน ที่มีลูกจ้างค่าแรงถูกคอยทำหน้าที่แยกส่วนประกอบและวัตถุมีค่าภายในเครื่องออกมา ส่วนพวกที่เหลือกลายเป็นวัตถุให้ฝุ่นจับอยู่ในบ้าน หรือนำไปกองทิ้งไว้ที่ลานทิ้งขยะของชุมชน ซึ่งเสี่ยงต่อการรั่วไหลของสารพิษ
หากไม่มีการควบคุมหรือ ตรวจสอบการใช้งานและโยนทิ้ง ขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้จะทวีความรุนแรงไม่เพียงก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและรวมถึงส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนทั้งในวันนี้และอนาคต จากสารอันตรายที่เป็นชิ้นส่วนประกอบอยู่ในเครื่อง จึงเป็นที่มาให้ยูเอ็นริเริ่มโครงการบรรเทาปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ (Solving the E-Waste Problem: StEP) เพื่อรณรงค์การลดปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก ภายใต้ความร่วมมือทั้งจากหน่วยงานของภาครัฐ และเอกชน ซึ่งมีบริษัทด้านไอทีที่เข้าร่วมหลักๆ เช่น ไมโครซอฟท์ อีริคสัน ฮิวเลตต์-แพคการ์ด (เอชพี) และเดลล์ เพื่อสร้างมาตรฐานการรีไซเคิลอุปกรณ์ให้เป็นมาตรฐานโลก และขยายอายุการใช้งานผลิตภัณฑ์ให้ยาวนานขึ้น ทั้งยังเพื่อกระตุ้นตลาดขายสินค้ามือสอง
ในประเทศไทย ขณะนี้ กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำลังดำเนินการออกมาตรการในการดูแลการผลิตและกำจัดซากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่มีส่วนประกอบของสารอันตราย ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการประชาสัมพันธ์เรื่องดังกล่าวให้ผู้ประกอบการรับทราบ ทั้งโดยการจัดสัมมนาทำความเข้าใจ และส่งหนังสือชี้แจงไปยังผู้ผลิต  นอกจากนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงวิทยาศาสตร์ โดยมีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นแม่งาน ได้ทำการร่างยุทธศาสตร์การจัดการซากเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในส่วนของการจัดเก็บ การรวบรวม และการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะกำหนดให้ผู้ผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งสินค้ามายังประเทศไทยดูแลและออกค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะอิล็กทรอนิกส์ในลักษณะเดียวกับ WEEE และ RoHS
ถึงแม้หน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ จะพยายามหาแนวทางดูแลป้องกันและหาแนวทางในการจัดการกับขยะไอที  แต่ถ้าไม่ได้มีโครงการให้ความรู้กับประชาชนผู้ใช้บริการ หรือ หน่วยงานทั้งเอกชนและรัฐบาล หรือสถานศึกษาขนาดใหญ่ ต่าง ๆ ซึ่งมีขยะไอทีประเภท  Computer Waste  เป็นจำนวนมาก เมื่อหมดอายุการใช้งานไม่รู้จะเอาไปทิ้งอย่างไรทิ้งที่ไหน จึงจะถูกวิธี ไม่เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม  และควรจะมีหน่วยงานประชาสัมพันธ์รับจัดการกับขยะไอทีอย่างเป็นทางการ  ก่อนที่สารพิษที่เกิดจากขยะไอทีจะทำลายสิ่งแวดล้อมโลกและมนุษย์ ไปมากกว่านี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น